ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

– ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          ปัญหา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่วิกฤตที่สุดในประเทศไทย คือ การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง รองลงมาคือการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย และการสูญเสียพื้นที่ป่า (ตารางที่ 1) เมื่อเปรียบเทียบตามเขตพื้นที่ พบว่ากลุ่มประชากรที่อาศัยในเขตเมืองเห็นว่าปัญหาที่วิกฤต ได้แก่ การสูญเสียพื้นที่ป่า (ร้อยละ 21.5) และการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย (ร้อยละ 17.4) และการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง (ร้อยละ 12.4) โดยกลุ่มที่อาศัยในเขตนอกเมืองเห็นว่าการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งเป็นปัญหาที่ วิกฤติที่สุดในพื้นที่ (ร้อยละ 26.1) สำหรับประชากรในเขตกรุงเทพฯ เห็นว่าปัญหาที่รุนแรงที่สุดคือการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟื่อย (ร้อยละ 24.0) (ตารางที่ 2)  เมื่อ พิจารณารายภาค พบว่า ประชากรในภาคใต้มีความเห็นว่าการสูญเสียพื้นที่ป่าเป็นปัญหาสำคัญที่สุด (ร้อยละ 19.7) และประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเห็นว่าการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งเป็นปัญหา ที่รุนแรงที่สุด (ร้อยละ 35.9) เช่นเดียวกับภาคเหนือ (ร้อยละ 23.3) เป็นปัญหาที่วิกฤติที่สุดในพื้นที่ สำหรับประชากรในเขตกรุงเทพและปริมณฑลเห็นว่าปัญหาวิกฤตที่ต้องได้รับการ แก้ไขอย่างเร่งด่วนคือการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย (ร้อยละ 21.4) เช่นเดียวกับประชาชนในภาคกลาง (ร้อยละ 16.6)           ระดับความ รุนแรงของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ทั้งนี้ บางปัญหาเกิดขึ้นเป็นประจำ แต่ระดับความรุนแรงไม่มาก เช่น เสียงดังในที่สาธารณะ ในขณะที่บางปัญหามีความรุนแรงมาก เช่น การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง การปนเปื้อนของสารพิษในสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดังนั้นจากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อระดับความรุนแรงของปัญหาต่างๆ สามารถนำมาคำนวณค่าดัชนีความรุนแรงของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ สภาวะที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น การสูญเสียพื้นที่ป่า และการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระดับความรุนแรง ระหว่างปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและปัญหาสิ่งแวดล้อม พบว่าปัญหาทรัพยากรธรรมชาติมีระดับความรุนแรงมากกว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ ป่าไม้ พลังงาน เป็นต้น ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีระดับความรุนแรงมากที่สุดคือปัญหาสภาวะที่โลกมี อุณหภูมิสูงขึ้น (ตารางที่ 3)          จากค่า ดัชนีความรุนแรงของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายภาค พบว่า การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งมีระดับความรุนแรงสูงที่สุด โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มีค่าดัชนีความรุนแรง 4.6) ภาคเหนือ และภาคกลาง ในขณะที่ประชาชนในภาคใต้เห็นว่าการสูญเสียพื้นที่ป่าและสภาวะโลกที่มี อุณหภูมิสูงขึ้นเป็นปัญหาที่รุนแรงที่สุด สำหรับประชาชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑลให้ความสำคัญกับปัญหาการใช้พลังงาน อย่างฟุ่มเฟือย ปริมาณขยะที่มากเกินความสามารถในการกำจัด และน้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าเสีย เป็นปัญหาที่รุนแรงที่สุด (ค่าดัชนีความรุนแรง 4.3) จากการเปรียบเทียบค่าดัชนีความรุนแรงของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อมกับความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายภาค พบว่า ปัญหาที่มีความรุนแรงอันดับหนึ่งเป็นปัญหาเดียวกัน แต่ในอันดับรองลงมามีความแตกต่างกัน ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง และกรุงเทพและปริมณฑล (ตารางที่ 4) 

     ตารางที่ 1 ความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ 10 อันดับแรก รายภาค ปี พ.ศ. 2548
ปัญหา
 
ทั้งประเทศ
(ร้อยละ)
ภาค (ร้อยละ)
เหนือ
ออกเฉียงเหนือ
ใต้
กลาง
กทม.และปริมณฑล
1. การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
22.2
23.3
35.9
14.6
13.2
11.1
2. การใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย
15.3
10.5
16.3
10.5
16.6
21.4
3. การสูญเสียพื้นที่ป่า
14.8
16.9
12.1
19.7
11.7
16.7
4. ปัญหาอุทกภัย
10.1
12.3
12.0
7.6
11.7
4.2
5. สภาวะที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
10.0
11.2
13.5
13.4
2.0
7.9
6. ปริมาณขยะมากเกินกว่าความสามารถ ในการกำจัด
5.2
7.7
1.9
5.4
2.9
10.6
7. น้ำในแม่น้ำ คลอง เน่าเสีย
5.1
3.7
0.1
5.1
13.4
7.1
8. ชุมชนแออัด เช่น น้ำเสีย ขยะ ฯลฯ
3.8
2.6
1.5
1.9
12.0
2.7
9. อากาศเสีย (ฝุ่นขนาดเล็ก)
3.4
2.6
0.7
4.1
5.4
6.6
10. ความเสื่อมโทรมของแหล่งธรรมชาติ
1.9
1.3
0.5
0.6
4.9
3.2
    ตาราง ที่ 2 ความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ 10 อันดับแรก เขตกรุงเทพฯ ในเขตเมืองและนอกเขตเมือง ปี พ.ศ. 2548
ปัญหา
ทั้งประเทศ
(ร้อยละ)
เขตพื้นที่ (ร้อยละ)
กรุงเทพฯ ในเขตเมือง นอกเขตเมือง
1. การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
22.2
16.0
12.4
26.1
2. การใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย
15.3
24.0
17.4
13.5
3. การสูญเสียพื้นที่ป่า
14.8
15.6
21.5
12.7
4. ปัญหาอุทกภัย (น้ำท่วม น้ำหลาก)
10.1
4.6
8.3
11.4
5. สภาวะที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
10.0
4.6
8.3
11.3
6. ปริมาณขยะมากเกินกว่าความสามารถในการกำจัด
5.2
7.6
7.2
4.2
7. น้ำในแม่น้ำ คลอง เน่าเสีย
5.1
7.6
3.1
5.1
8. ชุมชนแออัด เช่น น้ำเสีย ขยะ เป็นต้น
3.8
2.9
3.7
4.2
9. อากาศเสีย (ฝุ่นขนาดเล็ก)
3.4
8.4
4.8
2.2
10. ความเสื่อมโทรมของแหล่งธรรมชาติ
1.9
2.1
2.5
2.7
            
      ตาราง ที่ 3 ความคิดเห็นของประชาชนต่อระดับความรุนแรงของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม และดัชนีความรุนแรงของปัญหาฯ ปี พ.ศ. 2548
ปัญหา2
ระดับความรุนแรง (ร้อยละ)
ดัชนีความ
รุนแรง1
มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
ค่อนข้าง
น้อย
น้อย
มาก
ไม่มี ปัญหา ไม่ทราบ/
ไม่ตอบ
1. การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
42.4
32.2
15.6
4.7
1.9
1.9
1.3
4.0
2. สภาวะที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
28.1
43.8
17.2
4.6
2.3
0.8
3.2
3.9
3. การสูญเสียพื้นที่ป่า
26.2
41.6
18.3
5.0
3.1
2.3
3.5
3.8
4. การใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย
32.4
35.6
16.0
6.6
3.9
3.4
2.1
3.8
5. การลดลงของสัตว์ป่า
19.2
42.8
21.1
6.5
4.3
2.6
3.6
3.6
6. ปัญหาอุทกภัย (น้ำท่วม น้ำหลาก)
26.5
34.8
21.6
8.1
4.1
4.0
0.9
3.6
7. ชุมชนแออัด เช่น น้ำเสีย ขยะ ฯลฯ
18.6
42.0
22.9
7.1
3.4
4.7
1.3
3.5
8. ปริมาณขยะมากเกินกว่าความ
สามารถในการกำจัด
24.0
35.1
17.0
10.1
6.0
5.2
2.7
3.5
9. น้ำในแม่น้ำ คลอง เน่าเสีย
22.5
34.6
19.6
11.8
5.1
5.1
1.2
3.4
10. อากาศเสีย (ฝุ่นขนาดเล็ก)
20.1
31.1
23.1
13.4
6.4
4.7
1.2
3.3
11. การปนเปื้อนของสารเคมีในอาหาร
17.2
28.3
21.5
17.4
7.8
3.4
4.4
3.2
12. ความเสื่อมโทรมของแหล่งธรรมชาติ
11.9
30.0
30.2
13.1
5.6
4.3
4.8
3.2
13. การปนเปื้อนของสารพิษในสิ่งแวดล้อม
11.7
26.1
25.4
16.9
7.6
4.8
7.4
3.0
14. เสียงดังในที่สาธารณะ
9.2
29.9
30.3
15.5
7.5
5.2
2.5
3.0
15. การลดลงของสัตว์ทะเล
9.6
28.1
18.9
12.5
6.4
9.1
15.5
2.9
16. การเสื่อมโทรมของแนวปะการัง
8.7
25.5
20.6
12.4
6.2
9.1
17.7
2.9
17. การสูญเสียพื้นที่ป่าชายเลน
8.8
25.1
21.8
13.9
6.0
9.9
14.6
2.8
หมายเหตุ: 1 ดัชนีความรุนแรงของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ระดับความรุนแรง       มากที่สุด = 4.01 – 5.00          มาก = 3.01 – 4.00   ปานกลาง = 2.01 – 3.00
                            ค่อนข้างน้อย = 1.01 – 2.00     น้อยมาก = 0.01 – 1.00
              2 ปัญหาที่มีสัดส่วนเกินร้อยละ 25
 

             ตารางที่ 4 ดัชนีความรุนแรงของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายภาค ปี พ.ศ. 2548

ปัญหา
ทั้งประเทศ
ภาค
เหนือ
ตะวันออก
เฉียงเหนือ
ใต้
กลาง
กรุงเทพและ
ปริมณฑล
1. การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
4.0
3.8
4.6
3.5
3.8
4.0
2. สภาวะที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
3.9
3.5
4.2
3.7
3.7
4.2
3. การสูญเสียพื้นที่ป่า
3.8
3.5
3.8
3.7
3.8
4.1
4. การใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย
3.8
3.3
4.0
3.4
3.7
4.3
5. การลดลงของสัตว์ป่า
3.6
3.3
3.7
3.6
3.6
3.8
6. ปัญหาอุทกภัย (น้ำท่วม น้ำหลาก)
3.6
3.2
4.0
3.0
3.7
3.8
7. ชุมชนแออัด เช่น น้ำเสีย ขยะ ฯลฯ
3.5
3.0
3..6
3.1
3.7
4.0
8. ปริมาณขยะมากเกินกว่าความสามารถในการกำจัด
3.5
3.2
3.2
3.4
3.6
4.3
9. น้ำในแม่น้ำ คลอง เน่าเสีย
3.4
3.0
3.1
3.4
3.8
4.3
10. อากาศเสีย (ฝุ่นขนาดเล็ก)
3.3
2.9
3.0
3.3
3.5
4.1
หมายเหตุ: ดัชนีความรุนแรงของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ระดับความรุนแรงมากที่สุด = 4.01 – 5.00 มาก = 3.01 – 4.00 ปานกลาง = 2.01 – 3.00
ค่อนข้างน้อย = 1.01 – 2.00 น้อยมาก = 0.01 – 1.00
   – ความร่วมมือในการแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

           การ แก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถทำได้หลายแนวทาง โดยการใช้มาตรการควบคุมและกำกับ มาตรการด้านราคา รวมทั้งการให้ความรู้และรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน ในการสำรวจได้ทำการสอบถามประชาชนถึงความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ เพื่อลดปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆ ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน การเก็บค่าธรรมเนียม และการใช้ผลิตภัณฑ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม

               ผล การสำรวจทัศนคติของประชาชนพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยินดีปฏิบัติตามเพื่อช่วยลด ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกินร้อยละ 90 ทั้งการดำเนินพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การแยกขยะก่อนทิ้ง ปิดไฟและเครื่องปรับอากาศในช่วงกลางวัน รวบรวมของเหลือใช้ที่บ้านไปขาย เป็นต้น และการใช้ผลิตภัณฑ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในส่วนของการใช้สินค้าประหยัดพลังงาน สำหรับมาตรการการเก็บค่าธรรมเนียมประชาชนยินดีให้ความร่วมมือประมาณร้อยละ 80 ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด (ตารางที่ 5)
               เมื่อเปรียบเทียบความร่วมมือของประชาชนในเขตเมืองและนอกเขตเมือง พบว่าประชาชน
ส่วนใหญ่มีความยินดีที่จะปฏิบัติตามมาตรการเพื่อช่วยลดปัญหาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การแยกขยะ การปิดไฟตอนพักกลางวัน การแยกของเสียอันตรายออกจากขยะทั่วไป การใช้สินค้าประหยัดพลังงาน การใช้สุขภัณฑ์และอุปกรณ์ประหยัดน้ำ เป็นต้น รวมทั้งความยินดีที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมในการจัดการขยะและน้ำเสีย
      ตารางที่ 5 ความคิดเห็นของประชาชนในการยินดีปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2548
มาตรการ
ยินดีจะทำ
(ร้อยละ)
ไม่ยินดีจะทำ
(ร้อยละ)

1. พฤติกรรมการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

94.3
5.7
  • ลดปริมาณขยะโดยการแยกขยะก่อนทิ้ง
97.6
2.4
  • ลดปริมาณขยะโดยการใช้ซ้ำ เช่น ถุงพลาสติก
89.7
10.3
  • รวบรวมของเหลือใช้ที่บ้านไปขาย เช่น เศษกระดาษ ขวด หนังสือพิมพ์ ฯลฯ
96.7
3.3
  • แยกของเสียอันตรายออกจากขยะทั่วไปก่อนทิ้ง
96.6
3.4
  • ปิดไฟ เครื่องปรับอากาศตอนพักกลางวัน
96.9
3.1
  • เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์เมื่อต้องการขึ้นหรือลงเพียง 1-2 ขั้น
92.6
7.4
  • ทางเดียวกันไปด้วยกัน (Car Pool)
90.3
9.7
  • ใช้ระบบขนส่งมวลชน เช่น รถไฟ รถไฟฟ้า รถโดยสาร เป็นต้น
93.8
6.2
2. การเก็บค่าธรรมเนียม
79.6
20.4
  • จ่ายค่าธรรมเนียมการเก็บและกำจัดขยะตามค่าใช้จ่ายจริง ซึ่งต้องจ่ายแพงในปัจจุบัน
74.5
25.5
  • จ่ายค่าบำบัดน้ำเสียตามปริมาณน้ำที่ใช้
84.7
15.3
3. การใช้ผลิตภัณฑ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม
96.8
3.2
  • ใช้สินค้าประหยัดพลังงาน (เบอร์ 5)
97.9
2.1
  • ใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลากเขียว
95.8
4.2
  • ใช้สุขภัณฑ์และอุปกรณ์ประหยัดน้ำ
96.8
3.2

ใส่ความเห็น