สถานที่ท่องเที่ยว

  • อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
    ภูกระดึง (Phu Kradueng)

    ที่ตั้งและแผนที่

    สถานที่ติดต่อ : หมู่ที่ 1 บ้านศรีฐาน ต.ศรีฐาน อ. ภูกระดึง จ. เลย
    ขนาดพื้นที่
    217576.25 ไร่
    ภาพแผนที่

    ลักษณะภูมิประเทศ

    สภาพ ทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูปใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ บริเวณคอกเมย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,316 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียง ใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น
    ลักษณะภูมิอากาศ

    ภูมิ อากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปีในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 30 กันยายน ของทุกปี
    เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 31 พฤษภาคม ของทุกปี
    พืชพันธุ์และสัตว์ป่า

    สังคมพืชของภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่ง มีทั้งป่าผลัดใบ และป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงต่างๆ จำแนกออกได้เป็น
    ป่าเต็งรัง
    พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก
    ป่าเบญจพรรณ
    พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร
    พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น
    ป่าดิบแล้ง
    พบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูงประมาณ 950 เมตรจากระดับน้ำทะเล
    พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม ตะแบกเปลือกบาง หว้า มะม่วงป่า สัตตบรรณ มะหาด คอแลน เชียด ฯลฯ พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา เช่น สร้อยอินทนิล กระทงลาย เถามวกขาว เล็บมือนาง กระไดลิง ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น ข่าคม ก้ามกุ้ง ฯลฯ หวายและเฟินหลายชนิด
    ป่าดิบเขา
    พบตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า พญาไม้ ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อหมู ส้านเขา รัก เหมือดคนดง เฉียงพร้านางแอ พะวา เดื่อหูกวาง ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่ม เช่น กุหลาบแดง มือพระนารายณ์ ฮอมคำ จ๊าฮ่อม ฯลฯ ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูงขึ้นห่างๆ ได้แก่ ค้อดอย ไม้เถา เช่น กระจับเขา เครือเขาน้ำ แก้มขาว หนามไข่ปู ใบก้นปิด ย่านหูเสือ เป็นต้นป่าสนเขา พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย มะเขื่อเถื่อน รัก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย สนทราย ส้มแปะ กุหลาบขาว เม้าแดง พวงตุ้มหู นางคำ ฯลฯ ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคน ประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ออกเป็นกอหนาแน่น พืชล้มลุก เช่น ดาวเรืองภู ว่านคางคก ต่างหูขาว เนียมดอกธูป แววมยุรา หญ้าข้าวก่ำขาว โสภา เทียนภู เปราะภู ดอกหรีด ขนนกยูง หญ้าเหลี่ยม น้ำเต้าพระฤาษี กูดเกี๊ยะ เป็นต้น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะ มอสจำพวกข้าวตอกฤาษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำภูกระดึง ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิดที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่าง กระรอกหลากสี กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน อีเห็น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย นกขมิ้นดง ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเก่า งูเขียวหางไหม้ อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ ปาดแคระ และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาว อาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว
  • อุทยานแห่งชาติภูเรือ
    ภูเรือ (Phu Ruea)
    ที่ตั้งและแผนที่

    อุทยานแห่งชาติภูเรือ
    ต.หนองบัว อ. ภูเรือ จ. เลย
    อุทยานแห่งชาติภูเรือ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย อาณาเขตด้านทิศเหนืออยู่ติดกับประเทศลาว รูปพรรณสันฐานของภูเรือมีรูปร่างลักษณะเหมือนเรือใหญ่บนยอดดอยสูงเป็นภูผา สีสันสะดุดตาหินบางก้อนมีลักษณะเหมือนถูกปั้นแต่งไว้ ชาวบ้านเรียกว่า “กว้านสมอ” โดยรอบๆ จะเห็นยอดดอยเป็นขุนเขาน้อยใหญ่ใกล้เคียงเป็นฝ้าขาวด้วยละอองน้ำ หมอก ปกคลุมไว้ท่ามกลางป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 120.84 ตารางกิโลเมตรในปี พ.ศ. 2519 อธิบดีกรมป่าไม้ เดินทางมาราชการที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง นายสุจินต์ เพชรดี ปลัดจังหวัดเลย ได้ให้ความเห็นว่า ควรส่งเสริมป่าภูเรือให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด จากนั้นจังหวัดเลยจึงให้ทางอำเภอภูเรือสำรวจพื้นที่ป่าภูเรือ ซึ่งอำเภอภูเรือได้รายงานถึงจังหวัดเลยว่า พื้นที่ป่าภูเรือมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามสำคัญหลายแห่ง เช่น ป่าไม้ น้ำตก ทิวทัศน์ เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นของป่าภูเรือ ท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ปรากฏว่า ป่าแห่งนี้อยู่ในเขตป่าหมายเลข 23 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2506 ให้รักษาไว้ให้เป็นป่าถาวรของชาติพื้นที่ป่าภูเรือประกอบด้วยทิวเขาสูง สลับซับซ้อนเรียงรายเป็นรูปต่างๆ น่าพิศวงสลับกับที่ราบเป็นบางส่วน สาเหตุที่ขนานนามว่า “ภูเรือ” เพราะมีภูเขาลูกหนึ่งมีชะโงกผายื่นออกมาดูคล้ายสำเภาใหญ่ และที่ราบบนยอดเขามีลักษณะคล้ายท้องเรือตลอดจนมีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวย งาม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2521 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเรือ ในท้องที่ตำบลอาฮี ตำบลท่าลี่ อำเภอท่าลี่ และตำบลลาดค่าง ตำบลหนองบัว ตำบลร่องจิก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 124 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2522 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 16 ของประเทศ
    ขนาดพื้นที่

    75525.00 ไร่
    ภาพแผนที่

    ลักษณะภูมิประเทศ

    อุทยาน แห่งชาติภูเรือ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาสูงสลับซับซ้อนประกอบด้วย เขาหินทรายเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นเป็นหินแกรนิตสลับกันไป ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้มีที่ราบสูงสลับกับ ยอดเขาสูงทั่วไป มียอดเขาสูงที่สุดคือ ยอดภูเรือ มีความสูงถึง 1,365 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยังมียอดเขาที่สำคัญ คือ ยอดเขาภูสัน มีความสูง 1,035 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และยอดภูกุ มีความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะเช่นนี้เองจึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญก่อให้เกิดลำธารหลายสาย เช่น ห้วยน้ำด่าน ห้วยบง ห้วยเถียงนา ห้วยทรายขาว ห้วยติ้ว และห้วยไผ่ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำตกห้วยไผ่ที่สวยงามแห่งหนึ่ง
    ลักษณะภูมิอากาศ

    ด้วย อุทยานแห่งชาติภูเรืออยู่ที่จังหวัดเลย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดของประเทศไทย และอยู่บนยอดเขาสูง จึงทำให้มีอากาศเย็นตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะหนาวเย็นมาก จนกระทั่งน้ำค้างบนยอดหญ้าจะแข็งตัวกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งมีภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “แม่คะนิ้ง” ผู้ที่จะไปพักผ่อนควรเตรียมตัวให้พร้อมที่จะผจญกับความหนาวเย็น

    พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
    ภู เรือ มีสภาพป่าหลายชนิดปะปนกันอย่างสวยงาม ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ ป่าสนเขา โดยเฉพาะยอดภูเรือ ประกอบด้วยป่าสนเขา สลับกับสวนหินธรรมชาติแซมด้วยพุ่มไม้เตี้ย สลับด้วยทุ่งหญ้าเป็นระยะ ไม้พื้นล่างที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ กุหลาบป่า มอส เฟิน และกล้วยไม้ที่สวยงาม เช่น ม้าวิ่ง สามปอย ไอยเรศ เอื้องคำ เอื้องผึ้ง เอื้องเงิน ซึ่งขึ้นตามต้นไม้และโขดหิน กล้วยไม้เหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งให้ชมสลับกันไปตลอดทั้งปี

    อุทยานแห่งชาติภูเรือมีความหลากหลายของชนิดสัตว์ป่าทั้งหมด 257 ชนิด ประกอบด้วยสัตว์ที่พบเห็นตัวโดยตรงหรือร่องรอยและหลักฐานของสัตว์ป่าจำนวน 236 ชนิด และสัตว์ป่าที่ได้ ข้อมูลจากการสอบถามจำนวน 21 ชนิด จำแนกเป็นจำนวนชนิดของสัตว์ป่าแต่ละกลุ่มคือ (1) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 20 ชนิด (2) สัตว์เลื้อยคลาน 38 ชนิด (3) นก 162 ชนิด และ (4) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 37 ชนิด สัตว์ป่าที่รวบรวมได้ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเรือไม่ปรากฏว่ามีสัตว์ป่า ชนิดที่มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าสงวนแต่มีสภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 194 ชนิด และมีสัตว์ ป่าอีก 63 ชนิด ไม่ได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2546
    สัตว์ป่าที่ต้องการอนุรักษ์ตามภาวะการถูกคุกคามในประเทศไทย ตามประกาศสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม(2540) มีจำนวน 7 ชนิด แจกแจงเป็น (1) สัตว์ป่ามีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ เต่าปูลู ไก่ฟ้าพญาลอ ค่างแว่นถิ่นเหนือ หมาจิ้งจอก หมาใน และเสือโคร่ง และ(2) สัตว์ป่าใกล้ถูกคุกคามจำนวน 1 ชนิด ได้แก่ เหยี่ยวปีกแดง สัตว์ป่าที่มีสถานภาพเพื่อการอนุรักษ์ตามภาวะการถูกคุกคามในระดับโลกของ IUCN (2004) มีจำนวน 2 ชนิด แจกแจงเป็น (1) สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์จำนวน 1 ชนิด คือ หมาไน และ (2) สัตว์ป่าใกล้ถูกคุกคามจำนวน 1 ชนิด คือ ไก่ฟ้าพญาลอ
    ด้วยสถานภาพเพื่อการอนุรักษ์ทั้งสองเกณฑ์อธิบายได้ว่า เต่าปูลู เหนี่ยวปีกแดง ค่างแว่นถิ่นเหนือ หมาจิ้งจอก และเสือโคร่ง ซึ่งมีประชากรมากและแพร่กระจายกว้างอยู่ในภูมิภาพอื่นของโลก แต่ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่ลดลง ขณะที่สัตว์ป่าจำนวน 2 ชนิด มีปริมาณประชากรและขอบเขตการแพร่กระจากลดลงทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาพอื่น ของโลก ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ และหมาไน

  • อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย (ชื่อเดิมคืออุทยานแห่งชาตินาแห้ว)
    ที่ตั้งและแผนที่

    อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย (นาแห้ว)
    ต.แสงภา อ. นาแห้ว จ. เลย 42170
    อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย (นาแห้ว) ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาแห้ว ตำบลแสงภา ตำบลเหล่ากอหก อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย มีเนื้อที่ประมาณ 73,225 ไร่ หรือ 117.16 ตารางกิโลเมตร ด้วยสภาพขุนเขาที่สูงสลับซับซ้อนกันในพื้นที่ อำเภอนาแห้ว ประกอบกับเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ สภาพป่าโดยส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น ซึ่งมีที่ราบน้อย จุดที่สูงที่สุดประมาณ 1,408 เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพอากาศค่อนข้างเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากความสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติซึ่งมีพันธุ์ไม้อยู่หนาแน่น ในช่วงฤดูหนาวอากาศค่อนข้างจะหนาวเย็นป่าผืนนี้เป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ ตามกฎกระทรวงที่ 1041 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2507 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 101 ตอนที่ 69 วันที่ 30 พฤษภาคม 2527 เป็นป่าโครงการไม้กระยาเลย บ้านนาท่อน-บ้านบุ่ง (ลย.8) ตอนที่ 7 และ 8 ผ่านการคัดเลือกเพื่อให้ตัดฟันไม้ออกแล้ว แต่ราษฎรตำบลแสงภา ได้รวมตัวกันเมื่อเดือนธันวาคม 2530-มกราคม 2531 คัดค้านมิให้ทำไม้ออกทางราชการได้พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วเห็นชอบตาม ราษฎรจึงระงับการทำไม้ไว้ก่อน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกการทำไม้ตามสัมปทานเสียทั้งหมด จึงเป็นการยุติการทำไม้ออกตามสัมปทานโดยสิ้นเชิงการจัดตั้งป่าผืนนี้ให้เป็นป่าอนุรักษ์ในรูปอุทยานแห่งชาติ เนื่องจากกองอำนวยการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง อำเภอนาแห้ว ฝ่ายทหาร เริ่มแรกต้องการให้เป็นปอดของสมาชิกราษฎรอาสาป้องกันชายแดน แต่เมื่อตระหนักถึงประโยชน์ในการพักผ่อน ในลักษณะป่าเขาลำเนาไพรแล้ว เห็นว่าน่าจะอำนวยประโยชน์แก่ราษฎรโดยทั่วกันอีกด้วย จึงตัดสินใจหาลู่ทางกำหนดให้ป่านาแห้วเป็นอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับเนื่องในโอกาสครบ 3 รอบ หรือ 36 พระชนมพรรษาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2534 ซึ่งกรมป่าไม้เห็นชอบด้วยเป็นอย่างยิ่ง และตอบสนองความต้องการอนุรักษ์ป่าผืนนี้อย่างจริงจังการสำรวจเบื้องต้นบนส่วนหนึ่งของพื้นที่จึงเริ่มขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลต่างๆ มาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติและคณะกรรมการชุดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติโดยได้พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภู เปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ ในท้องที่ตำบลแสงภา ตำบลเหล่ากอหก และตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 52ก หน้า 54-56 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2537 โดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาตินาแห้ว นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 79 ของประเทศต่อมาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พิจารณาชื่ออุทยานแห่งชาติให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดเด่น และศักยภาพที่สำคัญของพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จึงเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาตินาแห้ว เป็นอุทยานแห่งชาติอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย

    จากสภาพภูมิอากาศคงที่ มีความชื้นสูง ทำให้ป่าที่อุทยานแห่งชาติภูสวนทรายมีความหลากหลายทางชีวภาพ มาก กับฤดูฝนที่ค่อนข้างยาวนาน ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตั้งแต่แบคทีเรีย เห็ด พืชชั้นต่ำจน ถึงพันธุ์พืชนานาชนิดรวมทั้งสัตว์ป่า เป็นระบบนิเวศทางธรรมชาติที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และรักษา ทั้งสังคมของสิ่งมีชีวิตความหลากหลายชนิดและความสมบูรณ์ของแหล่งพันธุกรรม ตามธรรมชาติ เพื่อความยั่งยืนตลอดไป

    อุทยานแห่งชาติภูสวนทรายเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า ป่าภูเรือตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 17 ํ 28’ 40” เหนือ และเส้นแวงที่ 100 ํ 03’ 30” ถึง 101 ํ 03’ 30” ตะวันออก ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลแสงภา ตำบลเหล่ากอหก ตำบลนาแห้ว มีเนื้อที่ประมาณ 117.16 ตารางกิโลเมตร หรือ 73,225 ไร่

    ทิศเหนือ จดแม่น้ำเหืองป่าหมัน แม่น้ำเหือง (ซึ่งเป็นแม่น้ำเขตประเทศไทย
    และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ) บ้านห้วยน้ำผัก
    บ้านบ่อเหมืองน้อย จุดเหนือสุดที่พิกัด QV 47 100438

    ทิศตะวันออก จดแม่น้ำเหือง บ้านเหมืองแพร่ จุดตะวันออกสุดพิกัดที่ QV 47 186364

    ทิศใต้ จดแม่น้ำแพร่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1268 ด่านซ้าย – ร่มเกล้า
    ใต้สุดพิกัดที่ QV 47 095329

    ทิศตะวันตก จดลำห้วยสีดา บ้านเหล่ากอหก บ้านนาผักก้าม บ้านนาเจริญ ตะวันตก
    สุดพิกัดที่ QV 47 020400

    ขนาดพื้นที่

    73225.00 ไร่
    ภาพแผนที่

    ลักษณะภูมิประเทศ

    ภูมิประเทศ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูสวนทรายเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนตามแนวชายแดน ไทย-ลาว สันเขามีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีความลาดเท ตั้งแต่ 2 เปอร์เซ็นต์ จนถึงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ด้านตะวันตกซึ่งเป็นพื้นที่ป่าผืนใหญ่ จะมีความลาดชันมาก พื้นที่ราบเชิงเขาเกือบจะไม่มี ด้านตะวันออกจะมีความลาดชันน้อย ลาดเทลงไปทางด้านตะวันออกมีที่ราบเชิงเขาอยู่บ้าง พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 600 – 1,408 เมตร มีภูตีนสวนทรายเป็นยอดเขาสูงสุด เป็นแหล่งน้ำน้ำลำธารของแม่น้ำเหือง แม่น้ำแพร่ และแม่น้ำภา
    ลักษณะภูมิอากาศ

    อากาศ ค่อนข้างเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากความสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติซึ่งมีพรรณไม้อยู่หนาแน่น ในช่วงฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็นมาก จนเกิดน้ำค้างแข็งเกาะยอดหญ้า หรือที่เรียกว่า “แม่คะนิ้ง”
    พืชพันธุ์และสัตว์ป่า

    จาก การศึกษาและสอบถามราษฎรในท้องถิ่น ทราบว่าบริเวณเขตป่าอุทยานแห่ง ชาติภูสวนทรายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลากหลายชนิด พอจำแนกได้ดังนี้1)สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ( Mammals ) เลียงผา เก้ง เสือ โคร่ง หมีควาย หมีป่า
    หมูป่า หมาป่าหมูหริ่ง อีเห็น เม่น บ่าง ลิง พญากระรอกดำ กระแต สัตว์แทะ (Rodent ) ป่าอุทยานแห่งนี้มีเม่นชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่าตัวหอน ( เม่นเล็ก หรือ เม่นหางยาว ) มีลักษณะคล้ายเม่นอยู่เป็นกลุ่มออกหากินกลางคืน อาศัยอยู่ตามซอกหิน ถ้ำ โพรงหิน2) นก (Avises) อุทยานแห่งชาติภูสวนทรายถือเป็นป่าที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ มีพรรณไม้นานาชนิด ซึ่งหลายชนิดเป็นอาหารของสัตว์น้อย – สัตว์ใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในป่าแห่งนี้ ฉะนั้นป่าอุทยานแห่งชาติภูสวนทรายจึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิด เช่น นกกองกอด หรือ นกแว่น ลักษณะเด่นคือ ที่ขามีเดือยมากกว่า 1 เดือย มีหางคล้ายนกยูง ไก่ฟ้าหลังเทา ไก่ฟ้าพญาลอ เหยี่ยว กา นกกระจิบ นกกระโดน นกกาหว่า ไก่ป่า นกเขาชนิดต่างๆ นกกะลิงเขียด นกกระยาง นกกระปูด นกตบยุง นกไต่ไม้ นกแก้ว นกกางเขน นกเค้าแมว นกกระเต็น นกพญาไฟ ฯลฯ3) สัตว์เลื่อยคลาน ( Reptiles ) มีหลายชนิดเช่น ตะกวด (แลน) เหี้ย (ตะกวดน้ำ) เต่าเดือย เต่าปูลู กิ้งก่า แย้ จิ้งเหลน ตัวนิ่ม งูชนิดต่างๆทั้งที่มีพิษและไม่มีพิษมักจะอาศัยอยู่ในป่าเบญจพรรณ4) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians ) กบภูเขา แอ๊ว เขียด ปาด อึ่งอ่าง คางคก กะท่าง (Salamandridea) หรือจักกิ้มน้ำ จักก่าน้ำ

    5) แมลง (Insect ) มีผีเสื้ออยู่หลายชนิดอยู่ในป่าทุกประเภท มี ตั๊กแตน แมลงปีกแข็ง เช่น ด้วงหนีบด้วงก่วง ด้วงเจาะไม้ มวน หนอน บุ้งชนิดต่างๆ ต่อ แตน ผึ้ง ฯลฯ

    6) ปลา (Fishes ) พบในลำน้ำเหือง ลำน้ำแพร่และตามลำห้วยเล็กๆ ปลาน้ำจืดที่อยู่อาศัยในลำห้วยมีพวกปลาประเภทที่มีเกล็ด เช่น ปลานิน ปลาไน ปลาช่อน ปลาหมอ ปลาขาว ปลากระดี่ ปลาจาด ปลาซิว ปลากั้ง หรือ ปลาช่อนชนิดหนึ่ง ปลาผั่น ปลาไหล ปลาอีด ปลาดุก และหลาติดหิน ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำเหืองที่มีความลาดชันมาก บริเวณน้ำตกและปลาขนาดเล็กอื่นๆ

  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง

    เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง

    ภูหลวง

    เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง  จังหวัดเลย
    ประวัติการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
    ภู หลวงมีความหมายว่าภูเขาที่ยิ่งใหญ่  หรือหมายถึงภูเขาของพระเจ้าแผ่นดิน   ซึ่งนับเป็นสิริมงคลนามที่บรรพบุรุษได้ตั้งชื่อไว้  ภูหลวงเกิดจากการยกตัวของพื้นผิวโลก  และดินส่วนที่อ่อนถูกพัดพาลงสู่พื้นที่ส่วนต่ำ  คงเหลือหินซึ่งเป็นโครงสร้างที่แข็งไว้เป็นภูเขา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงได้รับการจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าใน ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่  91  ตอนที่  216  เมื่อวันที่  18  ธันวาคม  2517  มีเนื้อที่ประมาณ  848  ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ  530,000  ไร่  ตั้งอยู่ในท้องที่ อำเภอวังสะพุง  อำเภอภูเรือ    อำเภอด่านซ้าย  อำเภอภูหลวง  จังหวัดเลย

    ต่อ มาในปี  พ.ศ.  2534  ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นมาใหม่ซึ่งเรียกว่า  “พระราชกฤษฎีกา  กำหนดบริเวณที่ดินป่าภูหลวง  ในท้องที่ตำบลปลาบ่า  ตำบลท่าศาลา  อำเภอภูเรือ  ตำบลโพนสูง  ตำบลวังยาว  ตำบลอีปุ่ม  อำเภอด่านซ้าย  ตำบลหนองงิ้ว  ตำบลเขาหลวง  ตำบลทรายขาว  อำเภอวังสะพุงและตำบลภูหอ  อำเภอภูหลวง  จังหวัดเลย  และได้มีการกำหนดให้บริเวณที่ดินป่าภูหลวง  ในท้องที่ตำบลปลาบ่า  ตำบลท่าศาลา  อำเภอภูเรือ  ตำบลโพนสูง  ตำบลวังยาว  ตำบลอีปุ่ม  อำเภอด่านซ้าย  ตำบลหนองงิ้ว  ตำบลเขาหลวง   ตำบลทราบขาว  อำเภอวังสะพุง  และตำบลภูหอ  ตำบลเลยวังไสย์  อำเภอภูหลวง  จังหวัดเลย  เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง

    ที่ตั้งและอาณาเขต
    ทางเข้าแยกบ้านสานตม อำเภอภูเรือ

    ภูหลวง
    ทางเข้าแยกบ้านสานตม อำเภอภูเรือ

    เขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง  ตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัดเลย  ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปลาบ่า  ตำบลท่าศาลา  อำเภอภูเรือ  ตำบลโพนสูง  ตำบลวังยาว  ตำบลอีปุ่ม  อำเภอด่านซ้าย  ตำบลหนองงิ้ว  ตำบลเขาหลวง  ตำบลทรายขาว  อำเภอวังสะพุง  และตำบลภูหอ  ตำบลเลยวังไสย์  อำเภอภูหลวง  อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 17 องศา 3  ลิปดา  ถึง 17  องศา  24  ลิปดา  เหนือ  เส้นแวงที่ 101 องศา 16  ลิปดา  ถึง  101  องศา  21  ลิปดา  ตะวันออก

    ลักษณะสภาพภูมิประเทศ
    เขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง  มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาใหญ่  แนวเขตเริ่มจากระดับความสูงประมาณ  400  เมตร  จากระดับน้ำทะเลปานกลางยอดเขาที่สูงที่สุดของภูหลวงมีความสูงประมาณ  1,571  เมตร  เทือกเขาซีกตะวันออกมีลักษณะเป็นภูเขาลูกใหญ่ที่มีที่ราบบนหลังเขาที่ระดับ ความสูง  1,200-1,500  เมตร  เนื้อที่ประมาณ  100  ตารางกิโลเมตร  เทือกเขาซีกตะวันตกเป็นภูเขาลูกเล็ก ๆ ตั้งชันสลับสับซ้อน  เป็นลูกคลื่นระดับความสูง  600-800  เมตร  ภูเขาทาง ทิศตะวันออกเป็นหน้าผาเขาสูงชันลาดลงสู่ทิศตะวันตกเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ เลยและแม่น้ำป่าสักซึ่งแม่น้ำเลยจะไหลผ่านกลางพื้นที่จากทิศเหนือลงสู่ทิศ ใต้  แล้วไหลย้อนผ่านอำเภอวังสะพุง  ไปลงสู่แม่น้ำโขงในเขตอำเภอเชียงคาน  ส่วนแม่น้ำป่าสักเกิดขึ้นจากลำธารหลาย ๆ สายทางด้านทิศตะวันตกของเขตรักษาพันธุ์ป่าภูหลวง  ก่อให้เกิดแม่น้ำไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ลงสู่ที่ราบภาคกลางไปบรรจบกับแม่ น้ำลพบุรีที่อำเภอนครหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ก่อนที่จะไหลสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและไหลลงสู่อ่าวไทยในที่สุด

    ภูหลวง
    จุดดูพระอาทิตย์ขึ้น บนยอดภูหลวง

    ลักษณะทางธรณี
    ลักษณะ ทางธรณีวิทยาของบริเวณ  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง  มีโครงสร้างทางธรณีวิทยาเช่นเดียวกับพื้นที่ราบสูงโดยทั่วไป  มีลักษณะของชั้นที่วางตัวแบบกระทะหงาย  (Syncline)  ในแนวเหนือ-ใต้  มีรอยเลื่อน (Fault)  เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกอีกหลายแห่ง  ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของโครงสร้างทางธรณีวิทยาในบริเวณภาคตะวันออกเฉียง เหนือที่ได้มีการยกตัวมาแต่อดีต  และหลายพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง  ประกอบด้วยเขาหินโผล่โดยทั่วไป

    ภูหลวง

    ลักษณะ ทางธรณีในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง  ประกอบด้วยหินอัคนีและหินตะกอนของชุดหินโคราช (Korat  Group)  และชุดหินราชบุรี (Ratburi  Group)  โดยทั้งหมดเกิดในช่วงอายุ(Age) Lower  Middle  Cretaceous  จนถึง  Perimain  อันประกอบด้วยหน่วยหิน (Formation)  ต่าง ๆ คือหน่วยหินภูพาน  เสาขรัว  พระวิหาร  ภูกระดึง  น้ำพอง  ห้วยหินลาด  และหน่วยหินผาเดื่อ  ซึ่งลักษณะโดยรวมเป็นหินทราย  ที่มีสีและส่วนส่วนประกอบที่แตกต่างกันไปนอกจากนั้นยังมีหินดินดานสีน้ำตาล ถึงเทาแกมน้ำตาลรวมถึงหินปูนสีเทาแก่  หินกรวดมนทัฟฟ์  และหินที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวในอากาศของลาวากระจาย อยู่ปะปนกัน

    ภูหลวง
    ภูหอ อยู่ในเขตอำเภอภูหลวง

    สภาพภูมิอากาศ
    ลักษณะ ภูมิอากาศของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง  อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมแต่เนื่องจากพื้นที่อยู่ห่างไกลชายฝั่งทะเล ค่อนข้างมากจึงทำให้อากาศมีแบบกึ่งร้อน  และเนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาที่ราบสูงจึงมีความหนาวเย็นยาวนานกว่า พื้นที่ราบของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยทั่วไป

    1.อุณหภูมิ
    จาก ข้อมูลอุณหภูมิของสถานีตรวจวัดอากาศจังหวัดเลย  จะเห็นได้ว่าอุณหภูมิของพื้นที่ในแต่ละช่วงปีจะมีค่าเฉลี่ยรายเดือนไม่แตก ต่างกันมากนัก  โดยค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิรายเดือนมีค่าเปลี่ยนแปลงจาก  26.2  องศาเซลเซียส  ในเดือนธันวาคม  จนถึง  28.0  องศาเซลเซียส  ในเดือนเมษายน  ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิตลอดทังปีเท่ากับ  27.1  องศาเซลเซียส  สำหรับค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายเดือนเท่ากับ  38.2  องศาเซลเซียส  ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์  และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย  16.0  องศาเซลเซียส  ซึ่งอยู่ในช่วงเดือน  มกราคม

    ภูหลวง
    ช้างป่า บริเวณเขตอุทยาน

    2.ปริมาณน้ำฝน
    ส่วน ปริมาณน้ำฝนจากข้อมูลของสถานีตรวจวัดอากาศเลย  จะเห็นได้ว่าช่วงที่มีสภาพฝนตกชุกจะยาวนานกว่าช่วงอื่น ๆ ซึ่งมีช่วงยาวนานถึง  6  เดือน โดยครอบคลุมตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคมซึ่งค่าน้ำฝนที่ตกในช่วงนี้จะมีปริมาณสูงในแต่ ละเดือนจะมีค่าไม่ต่ำกว่า 100  มิลิเมตร โดยเฉพาะในเดือนกันยายนจะมีปริมาณฝนเฉลี่ยสูงสุดถึง  226.8  มิลลิเมตร  และ  ปริมาณฝนรายเดือนเฉลี่ยต่ำสุด  3.9  มิลิเมตร  ในเดือนธันวาคมปริมาณน้ำฝนรายปีมีค่าเท่ากับ 1,238.1  มิลลิเมตร  จากวันที่มีฝนตก 130  วัน/ปี  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจำนวนวันที่ตกในช่วงฤดูฝน โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่ากับ 35.62  เปอร์เซ็นต์  ของจำนวนวันที่ฝนตกทั้งปี และเดือนที่มีจำนวนวันที่ฝนตกมากที่สุด ได้แก่  เดือนกันยายนประมาณ 20วัน

    ภูหลวง
    สัตว์ป่านานาชนิดที่ ภูหลวง

    3.  การคายระเหย
    ข้อมูล การคายระเหยจากถาดวัดการระเหยของสถานีตรวจวัดอากาศเลยแสดงถึงข้อมูลปริมาณ การระเหย  เฉลี่ยรายเดือนในรอบ  30  ปี  ซึ่งจะเห็นได้ว่าพื้นที่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงมีการระเหยสูงโดย ค่าการระเหยรายปีเฉลี่ยมีค่าสูงถึง  1,576.4  มิลิเมตร  โดยสูงสุดในเดือนเมษายนมีค่าถึง  173.0  มิลิเมตร  และต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายนซึ่งเท่ากับ  108.6  มิลิเมตร

    4.ความชื้นสัมพัทธ์
    ข้อมูล ความชื้นสัมพันธ์จากสถานีตรวจวัดอากาศเลย  จากการศึกษาพบว่าการผันแปรของค่าเฉลี่ยรายเดือนมีค่าสูง  ในช่วงฤดูฝนและลดต่ำลงในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนตามลำดับตามค่าความเปลี่ยน แปลงไม่สูงนัก  คือ  มีค่าความผันแปรเฉลี่ยรายเดือนจาก  60  เปอร์เซ็นต์ในเดือนมีนาคมถึง  83  เปอร์เซ็นต์ในเดือนกันยายน

    ภูหลวง
    ดอกไม้หน้าหน้าว

    5.ลม
    ข้อมูล กระแสลมจากสถานีตรวจวัดอากาศจังหวัดเลย  จะเห็นได้ว่าที่พัดอยู่ในพื้นที่จะพัดมาจากสองทิศทางหลัก  คือ  ทิศทางเหนือสำหรับช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม  และ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือและในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม  ลมประจำถิ่นจะ มีทิศทางด้านตะวันตก  โดยความเร็วลมเฉลี่ยทั้งปีมีค่าเท่ากับ  5  น๊อต  หรือ 92.65  กิโลเมตร/ชั่วโมง

    ศึกษาธรรมชาติและบริการรถบริการ

    ภูหลวง
    ผาเตลิ่น

    ศึกษา ธรรมชาติและบริการรถบริการรับส่งนักท่องเที่ยว บรรทุกได้คันละประมาณ 10 คน ไป-กลับ ครั้งละ 700 บาท จอดที่ลานจอดรถหน้าสำนักงานรถบริการรับส่งนักท่องเที่ยว บรรทุกได้คันละประมาณ 10 คน ไป-กลับ ครั้งละ 700 บาท จอดที่ลานจอดรถหน้าสำนักงานฯ

    เส้นทางคมนาคมไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
    การ เดินทางจากจังหวัดเลย  ไปยังที่ทำการเขตรักษาพันธุ์ภูหลวง  ออกเดินทางจาก อำเภอเมือง  จังหวัดเลย  ไปตามทางสายจังหวัดเลย – อำเภอภูเรือ  ระยะทางประมาณ  36  กิโลเมตรถึงบ้านสานตมแล้วเลี้ยวซ้ายที่บ้านสานตมไปอีก  18  กิโลเมตรจะถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ระยะทางจากบ้านสานตมถึงโคกนกกระบา(หลังภูหลวง)28 กม.

    ภูหลวง
  • สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ อำเภอภูเรือ

    สถานีทองลองเกษตรที่สูงภูเรือ, เลย

    สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ
    ตั้งอยู่ตำบลปลาบ่า เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านวิชาการในการศึกษาค้นคว้าทดลองไม้ดอกไม้ผล ทั้งของเมืองหนาวและพืชสวนของท้องถิ่นที่เหมาะสมกับดินฟ้าอากาศและระบบนิเวศ ได้แก่ ทุ่งซัลเวีย แปลงไม้กฤษณา สวนไม้หอมเฉลิมพระเกียรติ แปลงสตรอว์เบอร์รี่ โรงเรือนเพาะชำ ไม้กระถาง จากนั้นก็ถ่ายทอดเผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยแก่เกตรกรและผู้ที่สนใจต่อไป นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าชมไม้ผลและไม้เมืองหนาวควรไปช่วงเดือนกันยายน-เมษายน
     

    ที่นี่เป็นที่ตั้งของสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ แหล่งศึกษาวิจัยและทดลองปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ปลูกพืชผักผลไม้เมืองหนาวเพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าทดลอง เผยแพร่ออกไปให้แก่เกษตรกร มาเป็นระยะเวลายาวนาน บนเนื้อที่ 5,000 ไร่  ของสถานีทดลองเกษตรที่สูงแห่งนี้  โอบล้อมด้วยทิวทัศน์ของภูเขาสูง    และห่มคลุมด้วยความหนาวเย็น รอคอยให้นักเดินทางผู้สนใจในเรื่อง ราวของการเกษตรที่สูงได้ก้าวเข้ามาเยี่ยมชม

    การเดินทาง
    สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ  ตั้งอยู่ที่ ตำบลปลาบ่า  อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

    รถยนต์ส่วนตัว   นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้เส้นทางได้ 2 เส้นทาง  เส้นทางแรก  จากกรุงเทพฯ ใช้ทาง
    หลวงหมายเลข 1  ผ่านตัวเมืองสระบุรี ตรงเข้าทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์  ตรงเข้าทางหลวงหมาย
    เลข 203  ผ่านอำเภอหล่มสัก หล่มเก่า  เข้าเขตจังหวัดเลยที่อำเภอด่านซ้าย ผ่านอำเภอด่านซ้ายเข้าเขตอำเภอภูเรือ
    ก่อนถึงอำเภอภูเรือ ประมาณ 7 กิโลเมตร   (บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 57 – 58 ) เป็น  มีแยกสามแยกกกโพธิ์ ให้เลี้ยว
    ขวา  จะเห็นป้ายขวามือ  บอกทางเข้าสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ  ตรงเข้าไปประมาณ 7 กิโลเมตร จะถึงแยก “บ. ปลาบ่า – หินสอ”  ให้เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 16 กิโลเมตร   สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ   ตั้งอยู่ด้านขวามือ รวมระยะทางทั้งสิ้น 487 กิโลเมตร  ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 – 8 ชั่วโมง

    อีกเส้นทางหนึ่ง  ไปตามทางหลวงหมายเลข 2  ผ่านจังหวัดนครราชสีมา  ถึงจังหวัดขอนแก่น  แล้วเลี้ยวซ้าย
    เข้าทางหลวงหมายเลข 12  ผ่านอำเภอชุมแพ    แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 201   เข้าเขตจังหวัดเลยที่อำเภอภูกระดึง ผ่านอำเภอวังสะพุง แล้วตัดเข้าอำเภอภูเรือได้เช่นกัน เส้นทางนี้จะอ้อมมากกว่าการเดินทางไปสถานีเกษตรที่สูงภูเรือ โดยรถประจำทางไม่สะดวกนัก นักท่องเที่ยวต้องนั่งรถไปถึงอำเภอภูเรือ แล้วจึงหารถรับจ้างไปที่สถานีฯ
    ความเป็นมา
    เนื่องจากในพื้นที่ภาคอีสานนั้น มีจังหวัดเลย  เพียงจังหวัดเดียว  ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น  และมี
    ระดับความสูงเหมาะสมต่อการเกษตรบนที่สูง กรมวิชาการเกษตรจึงมีความคิดที่จะจัดตั้งสถานีทดลองเกษตรที่สูงขึ้น เพื่อทำการทดลองพันธุ์พืชไม้ดอกเมืองหนาว  สำหรับส่งเสริมให้แก่เกษตรกรทำการเพาะปลูกในปี พ.ศ. 2529  ได้มีการสำรวจบริเวณยอดภูครั่ง  อำเภอภูเรือ  และป่าเสื่อมโทรม  บริเวณใกล้เคียง   พบว่ามีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล

    1,000 เมตร อันเหมาะสมสำหรับทดลองพันธุ์พืชเมืองหนาว มีแหล่งน้ำเพียงพอ  และมีพื้นที่กว้างสามารถขยาย ออกไปได้ถึง 5,000 ไร่  จึงดำเนินการจัดตั้งเป็นสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ ขึ้น  ผลงานของสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ ที่ผ่านมา คือการทดสอบพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาว สำหรับปลูกในพื้นที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งได้แก่พันธุ์แอปเปิ้ล พันธุ์ท้อสำหรับรับประทานสด พันธุ์พลัม จากการทดสอบพบว่าบางพันธุ์สามารถเติบโตได้ดีในสภาพอากาศของที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่บางพันธุ์ก็มีการเติบโตช้า ออกดอกได้เฉพาะช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น  และติดผลได้ในบางปี อย่างไรก็ตามยังคงยากลำบากอยู่ในการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ ส่วนการปลูกสตรอเบอรี่  และไม้ดอกเมืองหนาวนั้นที่ผ่านมา ได้ผลเป็นอย่างดี นอกจากนี้สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ ยังได้มีความพยายามที่จะทำการรวบรวมและศึกษาพันธุ์องุ่นสำหรับทำไวน์ และองุ่นสำหรับรับประทานสดเพื่อพัฒนาพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดเลยทำการปลูกต่อไปอีกด้วย

    จุดท่องเที่ยวภายในสถานีฯ
    ปัจจุบันสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ  มีพื้นที่ที่เปิดดำเนินการ ทั้งสิ้น 1,500 ไร่ นักท่องเที่ยวสามารถเลือก
    เดินชม  ศึกษาแปลงทดลองการเกษตรภายในสถานีฯ ได้   โดยบางจุดสามารถที่จะเดินเท้าได้    แต่บางจุดก็ควรใช้พาหนะ  ซึ่งใช้ได้ทั้งรถเก๋ง  รถขับเคลื่อนสี่ล้อ  หรือจักรยาน  โดยมีจุดที่น่าสนใจได้แก่

    แปลงไม้ดอกเมืองหนาว (หมายเลข 1)
    ถือเป็นจุดเด่นของสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือทีเดียว เนื่องจากจุดที่ตั้งของสถานีฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอภูเรือ
    จังหวัดเลยนั้น เป็นจุดที่ปลูกต้นไม้ดอกไม้ ประดับเมืองหนาว ได้มากมายหลายชนิด  เทียบเท่ากับพื้นที่ทางเหนือของประเทศ อย่างเชียงใหม่ หรือเชียงราย  แต่ที่นี่จะพิเศษกว่าตรงที่หนาวก่อน และหนาวยาวนานกว่าในภาคเหนือ ดังนั้นนักท่องเที่ยว  จึงสามารถจะมาเที่ยวชมความงาม ของดอกไม้ประดับเมืองหนาวที่นี่ได้ก่อนใคร  และระยะเวลาในการบานอวดสีสันของบรรดาไม้ดอกเหล่านี้ก็จะอยู่คงทนต่อไป  จนถึงราวเดือน  มีนาคม  เลยทีเดียว  แปลงไม้ดอกไม้

    ประดับที่มีเนื้อที่ถึง 3 ไร่  เริ่มต้นจากแปลงกุหลาบพันธุ์ก้านแข็ง ดอกใหญ่หลากหลายสีสัน  ถือเป็นราชินีของไม้ดอก
    ทั้งมวล แปลงเพาะพันธุ์กุหลาบจะตั้งอยู่บนเนินเขา ลดหลั่นกันลงไปเป็นชั้นๆ เห็นทิวเขาที่โอบล้อมอยู่โดยรอบ มีทางเดินที่นักท่องเที่ยว   สามารถเดินลัดเลาะเที่ยวชมได้ตลอด   ส่วนไม้ดอกเมืองหนาวอื่นๆ    ได้แก่  แพนซี่  คาร์เนชั่น ฟอร์เก็ตมีนอท  ลิ้นมังกร หน้าแมว พิทูเนีย รวมถึงคะน้าใบหยัก ที่เมื่ออุณหภูมิต่ำถึงระดับความเย็นจัด  จะเปลี่ยนเป็น สีขาวทั้งต้น  ตัดกับกุหลาบแฟนซีที่เป็นสีม่วงทั้งต้น  สวยงามน่าชมมาก

    ทุ่งซัลเวียและแปลงรวบรวมไม้ผลเมืองหนาว (หมายเลข 2)
    ซัลเวีย  เป็นไม้ดอกเมืองหนาวมีดอกสีแดงเข้ม   ตัดกับใบสีเขียวของมัน      มีถิ่นกำเนิดจากประเทศบราซิล
    ชอบอากาศเย็น  ซัลเวียเมื่ออยู่ลำพังเพียงต้นเดียวก็ดูไม่โดดเด่นอะไรนัก   แต่ถ้าอยู่รวมกันเป็นทุ่งแล้ว สีแดงเข้ม ที่
    ดารดาษเต็มทุ่งของมัน  จะแต่งแต้มให้พื้นที่ตรงนั้นสว่างไสว  ขึ้นมาทันที  ทุ่งซัลเวียที่สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ

    แห่งนี้ปลูกอยู่บนเนินเขา  แทรกแซมอยู่ระหว่างแปลงไม้ผลเมืองหนาวหลากหลายชนิด   ทั้งแอปเปิ้ล ท้อ สาลี่   และพลัม  ซึ่งเป็นพันธุ์ทดลองปลูกในพื้นที่สูงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   หากนักท่องเที่ยว    มาตรงช่วงเวลาที่ไม่ผลเหล่านี้ออกผล ซึ่งตรงกับช่วงราวเดือนมีนาคม – กรกฎาคม ก็สามารถเด็ดชิมได้จากต้นเลยทีเดียว  หรือ หากเดินทางมาในช่วงหนาว ก็จะได้ชมไม้ผลเหล่านี้ทิ้งใบผลิดอกเต็มต้น การได้เดินชมดอกท้อ แอปเปิ้ล สาลี่ บานเต็มต้น ตัดกับสีสันอันสดใสของทุ่งซัลเวีย แดง ม่วง ชมพู จึงเป็นบรรยากาศชวนให้เพลิดเพลินใจเป็นอย่างยิ่ง

    แปลงไม้กฤษณา (หมายเลข 3)
    “กฤษณา” อาจเป็นไม้ที่เราอาจได้ยินชื่อมานานในฐานะยาสมุนไพร ที่มีกลิ่นหอม  แต่น้อยคนนักที่จะเคยได้
    เห็นต้นจริงของพืชชนิดนี้ ส่วนของไม้กฤษณาที่มีกลิ่นหอมและนำมาใช้ทำยาคือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ หรือแก่นไม้นั่นเอง ความจริงแล้วเนื้อไม้ของกฤษณาที่แท้จะเป็นสีขาวนวลไม่มีกลิ่น  แต่กลิ่นหอมของมันมาจากการที่เชื้อราเข้าไปเจริญในเนื้อไม้ทำให้ไม่เป็นรากลายเป็นสีเข้มและส่งกลิ่นหอมระเหยออกมา ไม้กฤษณาจะเริ่มมีเชื้อราเมื่ออายุต้นมากกว่า 20 ปี  และจะหอมสมบูรณ์ทั้งต้นเมื่อมีอายุราว 50 ปี

    ไม้กฤษณานั้นชาวฮินดูนิยมนำมาจุดไฟ  เพื่อให้มีกลิ่นหอมในโบสถ์ผงไม้หอมใช้โรยบนเสื้อฆ่าหมัดและเหา
    ในแหลมมาลายู  ใช้ไม้หอมเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางค์  และใช้บำบัดโรคผิวหนังหลายชนิด  ในเมืองไทยใช้สกัดเป็นน้ำหอมใช้ทำสบู่ และเครื่องสำอาง ถือเป็นไม้มีราคาแพง    การทำให้ไม้กฤษณาเกิดเป็นเชื้อราขึ้นนั้น  ก็จะใช้วิธีเจาะรู ให้เกิดเป็นรา เพื่อกระตุ้นกลิ่นหอม นักท่องเที่ยวสามารถชมวิธีการเจาะรูไม้กฤษณา  และทดลองดมกลิ่นหอมที่ระเหย   ออกมาจากต้นของมันได้ที่แปลงทดลองพันธุ์ไม้กฤษณาของ  สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ

    สวนไม้หอมเฉลิมพระเกียรติ (หมายเลข 4)
    สวนไม้หอมนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ  ในวโรกาสเจริญพระชมมายุครบ 5
    รอบ  โดยได้ทำการรวบรวมพันธุ์ไม้หอมทั้งหมด 25 ชนิด มาปลูกไว้ในที่เดียวกัน ได้แก่  สายน้ำผึ้ง  แก้ว  พุดสามสี ราตรี มะลิ พุดซ้อน ราชาวดี กระทิง มหาหงส์ นมแมง คัดเค้า บุหงาส่าหรี พุดจีบและกรรณิการ์นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมและสำรวจความหอมที่แตกต่างกัน ของพรรณไม้แต่ละชนิดได้ที่สวนแห่งนี้นอกจากนี้ติดกันกับสวนไม้หอมยังมี แปลงอบเชยเครื่องเทศสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่สถานีฯ  ทำการทดลอง เพื่อทดสอบพันธุ์ก่อนที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต่อไป

    ชิมสตรอเบอรี่จากแปลง (หมายเลข 5)
    สตรอเบอรี่  ผลไม้ที่ไม่มีใครปฏิเสธความหวานฉ่ำอร่อยลิ้นของมันได้ สตรอเบอรี่ นอกจากจะมีรสชาติหวาน
    ลิ้นแล้วยังเป็นแหล่งที่ให้เส้นใยอาหารเป็นอย่างดี   ทุกวันนี้สตรอเบอรี่จึงพลิกบทบบาท  กลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับเกษตรกรในพื้นที่สูง สตรอเบอรี่ ผลไม้เมืองหนาวชนิดนี้ได้ถูกนำมา  ปลูกในเมืองหนาวชนิดนี้ได้ถูกนำมาปลูกในเมืองไทยราว 70 ปีมาแล้วเป็นสตรอเบอรี่พันธุ์พื้นเมืองซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนานำเข้าพันธุ์จากต่างประเทศ

    มาทดลองปลูกมากมาย  จนพบพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ซึ่งในภายหลังได้นำมาทดลองปลูกในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ซึ่งในภายหลังได้นำมาทดลองปลูก ในพื้นที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย  และพบว่าสามารถขึ้นได้ดี  เนื่องจากมีความสูงพอสมควร มีอากาศเย็นและลักษณะดินพอเหมาะ จนทุกวันนี้มีพื้นที่หลายๆ  แห่งในอำเภอภูเรือได้มีการปลูกสตรอเบอรี่  กันเป็นที่แพร่หลาย  หากเดินทางมาที่นี่ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม   นักท่องเที่ยวคงอดใจไม่ได้   ที่จะขอลองลิ้นชิมรสความหวานหอมของสตรอเบอรี่    จากแปลงทดลองของที่นี่

    แปลงมะคาเดเมีย และโรงอบมะคาเดเมีย (หมายเลข 6,7)
    มะคาเดเมียนัท เป็นไม้ต้นสูงใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในออสเตรเลีย ใบหนาทึบและแข็ง ดอกเป็นช่อยาว ประกอบ
    ด้วยดอกเล็กๆ   สีขาวเต็มช่อ ห้อยระย้าเต็มต้น มีกลิ่นหอมมมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา  กรมวิชาการเกษตรได้มีความพยายามที่จะทดสอบพันธุ์มะคาเดเมียเพื่อทำการส่ง เสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจเนื่องจากผลมะคาเดเมีย

    นั้นตลาดมีความต้องการสูง มีราคาแพงมากนิยมนำไปคั่วอบเกลือหรือเป็นส่วนผสมในช็อกโกแลต ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้ามาโดยตลอด  ผลมะคาเดเมียนัท มีลักษณะเป็นลูกกลมๆ ขนาดประมาณ 1 นิ้ว สีเขียวเมื่อทุบเปลือกออก เนื้อในจะมันหวาน  นิยมนำไปคั่วอบเกลือ เป็นของขบเคี้ยว  นักท่องเที่ยวสามารถทดลองชิมมะคาเดเมียคั่วอบเกลือที่ทางสถานีฯ ได้ทดลองทำการอบเกลือบรรจุใส่ถุงสำหรับให้แขกที่มาเยือนได้ชิมหากติดใจก็อาจจะขอซื้อเป็นของฝากติดมือกลับบ้านได้ด้วย “บ้านไร่ปลายฟ้า”

    โรงเรือนเพาะชำไม้กระถาง (หมายเลข 8)
    หลังจากชมแปลงต่างๆ  จนทั่วแล้ว  “บ้านไร่ปลายฟ้า”  อาจเป็นแหล่งสุดท้ายที่นักท่องเที่ยว    จะมาแวะชม เพื่อสัมผัสกับบรรยากาศ  ชวนให้สดชื่นสบายตาสบายใจ  ของโรงเรือนเพาะชำไม้ กระถางต่างๆ   ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้สำหรับปลูกในห้องแอร์ อย่างพวกกล็อกซีเนีย  อาฟริกันไวโอเล็ต ผีเสื้อพิทูเนีย  ไม้กระถางเหล่านี้ทางสถานีเพาะชำ

  • สวนหินผางามอำเภอหนองหิน

    สวนหินผางาม  ตั้งอยู่ที่ บ้านผางาม ต.ปวนพุ กิ่ง อ.หนองหิน จ.เลย มีลักษณะเป็นเทือกเขาหินปูน มีความสูงอยู่เหนือระดับน้ำทะเลระหว่าง 500-750 เมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 9,000 ไร่ เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 2540 โดยได้เปิดพื้นที่ให้นักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมประมาณ 30 % นักวิชาการสันนิษฐานว่า เมื่อราว 225 ล้านปีที่แล้ว สวนหินแห่งนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน เพราะปรากฏซากฟอสซิลของสัตว์ทะเลให้เห็น

    สำหรับการเที่ยวชมสวนหินผางามนั้นมี 2 วิธี คือ การนั่งรถอีแต๊กเข้าไปเที่ยวชมสำหรับคนมีเวลาน้อยหรือคนที่ไม่ต้องการเมื่อย ขาหรือเดินไม่ไหว ซึ่งจะพาไปยังจุดชมวิวแล้วให้เที่ยวบนนั้นสักพักก่อนกลับลงมา

    image

    image

    สวนหินผางาม ชมคุนหมิงและกุ้ยหลินเมืองเลย เป็นเทือกเขาหินปูนในพื้นที่ประมาณ 9,000 ไร่ ประกอบไปด้วยเขาหินปูนขนาดใหญ่สามลูก คือ เขาแผงม้า เขาหินปูน และภูผาแคง และมีภูเขาหินปูนขนาดเล็กอีกไม่ต่ำกว่า 500 ลูก เขาหินปูนเหล่านี้มีลักษณะเป็นผาหินรูปทรงแปลกตา เต็มไปด้วยซอกหลืบและโพรงที่เชื่อมโยงกันอย่างน่าอัศจรรย์ จนได้รับการขนานนามว่าเป็นคุน-หมิงและกุ้ยหลินเมืองเลย ที่ตั้ง อยู่ที่บ้านผางาม ต. ปวนพุ กิ่ง อ. หนองหิน ห่างจากตลาดหนองหินประมาณ 18 กม. สิ่งน่าสนใจ สวนหินผางาม หรือคุนหมิงเมืองเลย เป็นภูเขาหินปูนขนาดใหญ่น้อยกระจายทั่วบริเวณ บนเขาเต็มไปด้วยโขดหินและเพิงผาทรงแปลกตา จินตนาการได้หลายรูปแบบ และมีต้นไม้แคระแกร็นขึ้นอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะต้นจันทน์ผา ภูเขาบางลูกสามารถเดินทะลุผ่านไปได้ บางลูกก็เป็นซอกหินสลับซับซ้อน ทาง อบต. ปวนพุได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติเที่ยวชมสวนหินผางามเป็นวงรอบ ระยะทางประมาณ 1 กม. ใช้เวลาเดินราว 1 ชม. โดยมีเจ้าหน้าที่คอยนำทางและให้ความรู้ตลอดเส้นทาง จากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ทางเดินอ้อมภูเขาไปทางซ้ายมือประมาณ 200 ม. ก็ถึงทางเข้าสู่เขาวงกต ระหว่างทางจะพบกับผาและโขดหินรูปทรงต่าง ๆ จินตนาการได้คล้ายกับหน้าคน ช้างร้องไห้ ถ้ำส่องดาว เต่า สุนัขหมอบ และดวงตา ผ่านทางเข้ามาราว 300 ม. ก็ถึงทางขึ้นเขาวงกต เป็นทางเดินขึ้นสู่ภูเขาที่เหมือนกำแพงหินตระหง่าน ตามโขดหินเต็มไปด้วยพืชทนแล้ง เช่น จันทน์ผา ปรง ตะบองเพชร และปอทองที่มีลำต้นสีเหลืองสูงชะลูดเป็นพันธุ์ไม้เด่นของภูเขาหินปูนแถบนี้ เมื่อถึงกำแพงหินแล้ว ต้องเดินไต่ขึ้นเขาหินปูนมาตามบันไดชันแต่ไม่สูงนัก จนถึงจุดที่พบฟอสซิลสัตว์ทะเลยุคดึกดำบรรพ์บนโขดหินขนาดใหญ่ จากการศึกษาพบว่ามีอายุราว 255 ล้านปี จากนั้นทางเดินลัดเลาะต่อไปตามซอกหิน ที่มีสะพานให้เดินมุดลอดไป ทางเต็มไปด้วยเถาวัลย์ระเกะระกะ พบช่องหินใหญ่เป็นโพรงถ้ำและมีหินคล้ายพญานาค บางช่วงต้องเดินก้มลอดซอกแคบ เรียกว่า ช่องคารวะ แล้วเดินลงสะพานผ่านไปตามป่ารก

    image

    image

    ที่มีไม้เลื้อยคลุมโขดหินเต็มไปหมด เมื่อลงจากสะพานจะเดินเข้าไปในหุบเขาที่ล้อมรอบด้วยเพิงผาหินปูน จนถึงแดนมหัศจรรย์ 1 เป็นเพิงผาหินขนานกันสองด้าน จากนั้นเข้าสู่ช่องแคบ ๆ เรียกว่า ช่องสรีระ ซึ่งจะนำเข้าสู่ผาวงกต เป็นทางคดเคี้ยววกวนไปตามซอกผาราวกับเขาวงกตจริง ๆ เต็มไปด้วยซอกโพรงหินรูปทรงประหลาด บางช่วงมีรากใบพลูช้างห้อยลงมาเป็นสายคล้ายเถาวัลย์ทาร์ซาน หินบางก้อนมีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ หัวใจ และมงกุฎ จนกระทั่งมาออกสู่จุดชมทิวทัศน์ที่เรียกว่า หอดูดาว เป็นจุดที่มองเห็นเทือกเขาหินปูนเป็น กำแพงล้อมรอบผืนป่าเบื้องล่างได้รอบทิศ ถ้าโชคดีอาจได้เห็นฝูงลิงวิ่งไต่ไปตามโขดหิน บริเวณนี้ยังมีต้นปรงยักษ์หรือปรงเขาอายุหลายร้อยปี ลำต้นสูงหลายเมตรยืนต้นอยู่ นับเป็นต้นไม้ดึกดำบรรพ์ อีกชนิดหนึ่งจากหอดูดาว ทางตัดลงเขาไปยังพื้นที่ราบ เพื่อขึ้นรถอีแต๊กกลับศูนย์บริการฯ ทางขวามือจะมองเห็นผาบ่องซึ่งเป็นช่องเขาทะลุออกไปอีกด้านหนึ่ง ดูน่าอัศจรรย์ ถ้ำพระโพธิสัตว์ อยู่ห่างจากตลาดหนองหินประมาณ 9 กม. ใช้เส้นทางเดียวกับสวนหินผางาม เมื่อถึงบ้านปวนพุ ระยะทางประมาณ 7 กม. มีทางแยกขวามือข้าง อบต. ปวนพุ เลี้ยวไปราว 500 ม. จะมีทางแยกซ้ายมืออีกประมาณ 1.5 กม. เข้าสู่วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ – ติดต่อคนนำทางได้ที่ อบต. ปวนพุ ค่านำทางกลุ่มละ 100 บาท ถ้ำพระโพธิสัตว์หรือกุ้ยหลินเมืองเลย มีลักษณะเป็นโตรกผาและสวนหินสวยงามแปลกตาเช่นเดียวกับสวนหินผางาม แต่พื้นที่มีขนาดเล็กกว่า นักท่องเที่ยวจึงนิยมมาเที่ยวกันน้อยกว่าสวนหินผางาม จากลานจอดรถข้างวัดถ้ำพระโพธิสัตว์ มีทางเดินไปตามป่าไผ่ประมาณ 300 ม. จึงถึงเชิงเขาและทางเข้าถ้ำพระโพธิสัตว์ มีเส้นทางชมธรรมชาติผ่านไปตามโพรงถ้ำที่แบ่งออกเป็นคูหามากมาย แต่ที่นี่มีลักษณะเป็นผนังหินขรุขระสูงทะมึน ดูลึกลับน่ากลัว แต่ละคูหามีชื่อเรียกและสิ่งน่าสนใจตามลำดับดังนี้ ถ้ำซุ้มบาดาล เป็นทางเข้าคูหาแรก หินนางเงือก เป็นผนังหินลักษณะคล้ายนางเงือก ท้องพระโรง เป็นคูหาใหญ่ที่มีหินงอกหินย้อยงดงามที่สุดของถ้ำพระโพธิสัตว์ จากนั้นก็ผ่านห้องโถงใหญ่ที่ผนังทุกด้านเป็นผาสูงขรุขระตะปุ่มตะปํ่าและเต็ม ไปด้วยรากไม้ใหญ่ห้อยเกาะอยู่ เรียกว่า ห้าแพร่ง แล้วก็มาถึงหนึ่งเดียว ที่เป็นถ้ำแคบ ๆ ตามด้วยขังแปด เสาหลักเมือง ถ้ำดอกหิน และเมืองลับแล สุดท้ายจะพบถ้ำนางพญา และถ้ำมาลัย ซึ่งมีหินงอกหินย้อยสวยงาม จากนั้นมีทางลัดเดินอ้อมกลับมาสู่ทางเข้าได้โดยไม่ต้องย้อนกลับทางเดิม สวนสวรรค์

    image

    image

    image

  • วนอุทยานน้ำตกห้วยเลา อำเภอภูหลวง
  •   
    วนอุทยาน น้ำตกห้วยเลา อยู่ในท้องที่หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 6 ตำบลแก่งศรีภูมิ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูค้อและป่าภูกระแต มีเนื้อที่ประมาณ 2,125 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2540

    ลักษณะภูมิประเทศ

    เป็น เทือกเขาสูงชัน ภูค้อใหญ่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200-800 เมตร เป็นเขาหินปูนและหินดินดาน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารมีลำห้วยที่สำคัญจำนวน 3 ลำห้วย คือ ห้วยถ้ำแก้ว ห้วยเลา และห้วยดินลาย มีน้ำไหลตลอดปี สภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์

    ลักษณะภูมิอากาศ

    สภาพ ภูมิอากาศของวนอุทยานน้ำตกห้วยเลาแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม

    พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า

    เป็น ป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ประดู่ แดง มะเกลือ ตะแบก ปู่เจ้า ไม้ไผ่ และเฟิร์นต่างๆและเนื่องจากบริเวณภูค้อและภูกระแตอยู่ใกล้เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าภูหลวงมีสัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมีควาย หมูป่า กระแต แต่เหลือเป็นจำนวนน้อยและนกชนิดต่างๆ

  • เมืองเก่าเชียงคาน อำเภอเชียงคาน
  • เชียงคาน เมืองเก่าเชียงคาน เป็นเมืองแห่งความเงียบสงบ ดำเนินวิถึชีวิตแบบเรียบง่าย บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นเรือนแถวบ้านไม้สองชั้น ปลูกติดเรียงรายเรียบริมฝั่งแม่น้ำโขง ยามเช้านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมใส่บาตรข้าวเหนียว และปั่นจักรยานเที่ยวชมเมืองเก่าเชียงคาน ชมวิถีการทำผ้าห่มนวมฝ้ายด้วยมือ ลงเรือชมวิถีชีวิตชาวไทยลาว ยามเย็นชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า และเดินเที่ยวชมร้านค้า และขายของที่ระลึกตลอดแนวถนน แวะ อาหารพื้นเมืองที่น่าสนใจข้าวปุ้นน้ำแจ่ว ข้าวเปียกเส้น                  ถนนคนเดินเชียงคาน เป็นถนนคนเดินที่มีบรรยากาศดีแบบไทเชียงคานพื้นบ้านที่ได้ร่วมกันอนุรักษ์ ไว้ ซึ่งสืบต่อ ๆ กันมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยแต่ก็ยังคงไว้แบบชาวเชียงคาน ด้วยบรรยากาศดีอยู่ติดฝั่งแม่น้ำโขงแลเห็นสายธารลำน้ำโขงไหลเชี่ยวมองเห็น ฝั่งเพื่อนบ้านของเรา ทำให้บรรยากาศที่นั่น เป็นดินแดนที่ทำให้นักท่องเที่ยวหลายท่านก็อยากไปสัมผัสกัน สถานที่ท่องเที่ยวเชียงคานจะมีอากาศเย็นเกือบตลอดทั้งปี ถึงแม้จะช่วงฤดูร้อนก็จะไม่ร้อนมากนักเหมาะแก่การพักผ่อน และผู้คนที่นี้จะมีอัธยาศัยไมตรีผู้คนยิ้มแย้มตลอดเวลา ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อันดีทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจเมื่อได้มาเยือน เชียงคานในครั้งนี้ ในช่วงวันนักขัตฤกษ์หรือวันหยุดที่พักเชียงคานจะมีนักท่องเที่ยวมาพักกันมากมายและชาวเชียงคานเองก็มาเที่ยวด้วยเช่นกัน จนทำให้ถนนคนเดินเชียงคานแห่งนี้เป็นพื้นที่ที่มีผู้คนเดินแออัดกันและสถานที่พักเชียงคานก็หาพักได้ยากขึ้น และไม่มีสถานที่จอดรถให้แก่นักท่องเที่ยว

    ถนนคนเดินเชียงคาน นักท่องเที่ยวจะพากันมาเดินชม ช้อปปิ้ง ซื้อของฝาก และด้วยการตกแต่งหน้าร้านแสงไฟสวยงามระยิบระยับมีมุมเล็กๆ ให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีมุม ให้ได้นั่งพักผ่อน จิบกาแฟเล็ก ๆ พร้อมกับชื่นชมรอยยิ้มของผู้คนเดินผ่านไปผ่านมาอีกด้วย ถนนคนเดินเชียงคาน ที่ใครหลายๆ ยังไม่ได้มาสัมผัสอาจมองว่าคงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามกระแสหรือตามคำบอก เล่าต่อๆ กันมาที่รู้จากเพื่อนที่ได้มาเที่ยวและถ่ายรู้เก็บไปฝากให้ดูกัน หากยังไม่รู้จักเชียงคาน ที่พักเชียงคานเฮือนไม้แฮกดีก็ขอเชิญชวนมาลองสัมผัสกันดูนะค่ะ

    ถนนคนเดินเชียงคาน มีสินค้าจำนวนหลากหลายมากมายทั้งด้านงานศิลปะพื้นเมือง ร่วมสมัย เสื้อผ้าพื้นเมือง ของฝากที่ระลึก และที่ขาดไม่ได้เป็นที่ติดอกติดใจนักท่องเที่ยวก็คือ อาหารพื้นบ้านที่หาทานได้ยากแต่มีให้เลือกมากมายได้ที่นี้ ซึ่งอาหารส่วนใหญ่จะเป็นร้านอาหารจานหลัก แบบเมนูอาหารตามสั่งและอาหารพื้นเมือง ร้านแผงลอยที่ออกมาวางขายซ้ายขวาตามริมฝั่งสองข้างถนนคนเดินเชียงคาน อาหารอร่อยอาทิเช่น ข้าวเปียกเส้น เมี่ยงคำ ผัดไทยกุ้งสด ไข่ปิ้ง โจ๊ก ขนมจีน ยำแหนมคลุก ข้าวจี่ กุ้งทอด ไอติมโบราณ ซาลาเปาปุยฝ้าย ข้าวเกรียบว่าว ขนมปังสังขยา ชา กาแฟ น้ำผลไม้ น้ำขิง นมสด ขนมทองม้วน มะขามกวน และอีกมากมายที่ไม่สามารถเอ่ยมาได้หมด ไม่ต้องกลัวว่ามาเที่ยวเชียงคานครั้งนี้จะต้องเตรียมอาหารสำรองมาด้วย ใครชอบแบบไหน อยากกินอะไรก็เลือกกันได้ตามใจชอบเพราะมีความหลากหลายจนนักท่องเที่ยวเดิน ชิมก็คงจะไม่ครบหมดทุกร้านแน่นอนเลยค่ะ

    บ้านไม้ที่เปิดเป็นร้านขายของ ขายเสื้อผ้าไอเดียเก๋ๆ สกรีนลายเท่ห์ๆ และของที่ระลึกที่ทำมาจากฝีมือชาวบ้านเชียงคานเอง ที่นำมาขายก็สามารถซื้อได้ในราคาย่อมเยา และมีโปสการ์ดรูปภาพสวยๆ ให้นักท่องเที่ยวสามารถเขียนส่งให้เพื่อนได้รับรองว่าต้องถูกใจทั้งผู้รับ และผู้ส่งแน่นอนค่ะ

    ถนนคนเดินเชียงคาน อาจ เป็นเพียงถนนสายสั้นๆ แต่กว่าจะเดินถึงจุดปลายทางได้นั้นก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน จนทำให้ใครหลายๆ คนเอ่ยปากออกมาว่า “เหนื่อยๆ มาก แต่ก็สนุก” นักท่องเที่ยวที่พักเฮือนไม้แฮกดีได้ บอกกับเราค่ะ กว่าจะเดินทั่วทุกตรอกทุกซอยก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยเลยทีเดียว หลายคนก็ชอบที่จะปั่นจักรยาน หรือชอบเดินก็แล้วแต่นักท่องเที่ยวถนัดที่พักเชียงคานแห่ง นี้ก็มีไว้ให้บริการค่ะ ถนนสายสั้นๆ แต่ทำให้ผู้คนต้องหยุดก้าวที่จะเดินไปต่อก็เพราะร้านค้าแต่ละร้านทำเอานัก ท่องเที่ยวอดใจไม่ได้ที่จะหยิบกล้องส่วนตัวออกมาถ่ายรูปกันเกือบจะทุกร้าน ที่เดินผ่าน ไม่เพียงแต่ร้านค้าที่ตกแต่งสวยงามสะดุดตาแล้ว อาจเป็นเพราะพ่อค้าแม่ค้าของแต่ละร้านมีอัธยาศัยที่ดีกับนักท่องเที่ยวทุกคน ที่เดินชมแวะที่ร้าน ทำให้ความรู้สึกเหมือนมาเที่ยวบ้านญาติสนิทอย่างไรอย่างนั้น บ้างร้านก็ปล่อยทิ้งไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เดินเข้าไปชมกันได้เลยด้วยคนที่ นั่นเชื่อกันว่า ไม่มีขโมยในเชียงคานแน่นอนทุกคนต่างไว้ใจกันแม้กระทั่งนักท่องเที่ยวเอง

    ถนนคนเดินเชียงคานจะ อยู่ถนนชายโขง ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่เที่ยวที่กินเท่านั้น ยังเป็นสถานที่ที่ให้นักท่องเที่ยวได้เดินออกกำลังกาย และผ่อนคลายเดินชมเมืองโบราณบ้านไม้เก่า ที่พักเชียงคานแห่งนี้ก็ขอแนะนำที่เที่ยวที่กินที่พักซึ่งถนนคนเดินอำเภอเชียงคานเป็น ถนนที่ขายสินค้าประเภทของที่ระลึก ของฝาก  ของกินประเภทของพื้นเมืองไทเชียงคาน ซึ่งนักท่องเที่ยวก็สามารถปั่นจักรยานเที่ยวได้ ถนนคนเดินเปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่ 09.00-21.00 น. สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณนักท่องเที่ยวทุกท่านที่แวะมาเที่ยวเชียงคาน ที่พักเชียงคานเฮือนไม้แห่งนี้ยินดีต้อนรับด้วยความยินดียิ่งค่ะ

  • แก่งคุดคู้ อำเภอเชียงคาน

    แก่งคุดคู้ อำเภอเชียงคาน

    แก่งคุดคู้ 
    สถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ใน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ถ้าได้มาเที่ยวที่อำเภอเชียงคานแล้วที่จะไม่ไปไม่ได้ก็เห็นจะเป็นแก่งคุดคู้ นี่แหละ เพราะมีความสวยงามเหมาะสำหรับถ่ายภาพวิวสวยๆแก่งคุดคู้อยู่ห่างจากตัวอำเภอ เชียงคานออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร แก่งคุดคู้เกิดจากการทอดตัวของแนวก้อนหินขนาดน้อยใหญ่ลงไปในแม่น้ำโขง ซึ่งช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่น้ำแห้ง ทำให้มองเห็นโขดหินและเกาะแก่งได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และยังมีหาดทรายที่สวยงาม และยังมองเห็นฝั่งลาวได้อย่างชัดเจนอีกด้วย หหากมีนักท่องเที่ยวต้องการที่จะใช้บริการเรือก็มีเรือไว้บริการนักท่อง เที่ยวด้วยนะครับ หน้าท่องเที่ยวของแก่งคุดคู้ก็จะเป็นวันสงกรานต์ จะมีผู้คนจากทั้งในจังหวัดเลย และ ต่างจังหวัดมาเที่ยวยังแก่งคุดคู้เป็นจำ

    นวนมาก รถติดยาว ทำให้เป็นมนต์เสน่ห์ของ แก่งคุดคู้และอำเภอเชียงคานไปแล้ว และยังมีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกไว้ให้บริการ นักท่องเที่ยวอีกด้วย                          ด้วยระยะทางเพียงแค่ประมาณ 3 กม.จากตัว อ.เชียงคานมุ่งหน้าไปทาง อ.ปากชม คุณก็จะได้พบกับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของ จ.เลย นั่นก็คือ “แก่งคุดคู้” ซึ่งคุณสามารถเลือกเช่าเหมาเรือหางยาวล่องเลียบเลาะเรื่อยไปตามลำน้ำโขง เพื่อชมทัศนียภาพความงดงามของหาดทรายแก่งหินน้อยใหญ่และวิถีชุมชนอันเก่าแก่ ริมสองฟากฝั่งน้ำ หรือจะเลือกรับประทาน “กุ้งเต้น” , “กุ้งนอน” , “กุ้งแพ” อาหารขึ้นชื่อของแก่งคุดคู้พร้อมๆกับปล่อยอารมณ์นั่งดูบรรยากาศริมน้ำไป เรื่อยๆ ณ ร้าน “กลุ่มสตรีอาหารพื้นเมืองแก่งคุดคู้” ก็ดูดีไม่หยอก (คุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของร้าน “กลุ่มสตรีอาหารพื้นเมืองแก่งคุดคู้” ได้ในหัวข้อ “ร้านเก๋ตามใจสั่ง” ครับ) ส่วนใครที่ชอบรับประทานขนมหวานเบาๆ สบายๆ ท้องต้องลองซื้อหามะพร้าวแก้วจากร้าน “กลุ่มสตรีมะพร้าวแก้วบ้านน้อย (ตราปิ่นแก้ว)” มาชิมดูรับรองไม่ผิดหวังเพราะอร่อยกว่ามะพร้าวแก้วของฝากจากจังหวัดซึ่งมีพื้นที่อยู่ติดชายทะเลหลายจังหวัดเลยทีเดียว (คุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของร้าน “กลุ่มสตรีมะพร้าวแก้วบ้านน้อย” ได้ในหัวข้อ “ของฝาก” ครับ)

    แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย
    บริเวณแก่งคุดคู้มีบริการเรือนำเที่ยวพาทุกท่านล่องเรือไปชมแก่งคุดคู้กันอย่างใกล้ชิด
    แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน จ.เลย
    เหมือนจะใกล้ แต่ก็ไกลห่าง สำหรับแผ่นดินของประเทศเพื่อนบ้าน
    ที่ถูกกั้นขวางโดยสายเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงกันอยู่

    “แก่งคุดคู้” คือแก่งหินขนาดใหญ่ขวางกั้นอยู่กลางลำน้ำโขงทำให้เกิดกระแสน้ำเชี่ยวไหลผ่านแก่ง ในช่วงฤดูแล้ง (ประมาณเดือน ก.พ. – พ.ค.) ระดับน้ำในแม่น้ำจะลดลงต่ำจนทำให้ก้อนหินน้อยใหญ่รวมถึงหาดทรายซึ่งเคยจม อยู่ใต้สายน้ำโผล่ขึ้นมาอวดลวดลายอันงดงามให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชม ส่วนในช่วงฤดูฝน – ฤดูหนาว (ประมาณเดือน มิ.ย. – ม.ค.) ระดับน้ำในแม่น้ำโขงจะสูงขึ้นกลืนกินแก่งหินและหาดทรายส่วนใหญ่ให้จมอยู่ภาย ใต้สายน้ำไปจนเกือบหมด แต่คุณก็จะสามารถพบกับภาพประทับใจของมวลหมู่เมฆและสายหมอกซึ่งล่องลอย คลอเคลียอยู่เหนือยอดเขาและราวป่าริมสองฝั่งน้ำได้แทน

  • หมู่บ้านไททรงดำ อำเภอเชียงคาน
  • หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำบ้านนาป่าหนาดตั้งอยู่ บ้านนาป่าหนาดคุ้มใต้ ต.เขาแก้ว อ.เชียงคาน จ.เลย 


    หมู่บ้านวัฒนธรรมบ้านไทดำบ้านนาป่าหนาด ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2539 โดย อาจารย์เพชรตะบอง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเชียงคานร่วมกับชาวบ้าน บ้านนาป่าหนาดในการจัดสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งที่เผยแพร่ข้อมูลด้าน วัฒนธรรม และวิถีชีวิตรวมทั้งประวัติ ความเป็นมาของชนชาวไทดำบ้านนาป่าหนาด

    เนื่องจากมีผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับบ้านนาป่าหนาดเป็นจำนวนมาก อาทิ ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ อาจมาเป็นการส่วนตัวหรือหมู่คณะแบบเป็นทางการก็มี บางทีพักอยู่ในหมู่บ้านเป็นเวลานาน มีทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ผู้เขียนจึงได้รวบรวมและได้จัดทำหนังสือข้อมูลของชาวไทดำ บ้านนาป่าหนาดขึ้น

    โดยค้นคว้าจากหนังสือต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั้งเอกสาร ตำรับตำรา คำบอกเล่า ของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน และผู้รู้ที่เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากผู้ปกครองของไทดำในอดีตโดยตรงซึ่งทำให้ ได้รับความรู้มากมายและมีรายละเอียดมาก จำเป็นต้องเขียนเฉพาะเรื่อง

    บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นหมู่บ้านที่มีประชากร เป็นเชื้อสาย “ ไทดำ ” หมู่บ้านเดียวในจังหวัดเลย ที่ตั้งของหมู่บ้านตั้งอยู่บนที่สูง ซึ่งเรียกตาม ภาษาท้องถิ่นทั่วไปว่า “ โคก ” ชาวบ้านนาป่าหนาด และหมู่บ้านใกล้เคียงจะเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “ บ้านโคก ” หรือบางทีก็เรียกว่า “ บ้านโคกโซ่งดำ ”

     


    การตั้งบ้านเรือนของหมู่บ้านนาป่าหนาด จะตั้งเรียงรายยาวไปตามถนนภายในหมู่บ้าน โดยมีถนนสาย บ้านนาบอน – บ้านสงเปลือย เป็นเส้นทางผ่านกลาหมู่บ้านภายในหมู่บ้านจะมีซอยตัดเป็นแนวเดียวกันสิบซอย ปัจจุบัน บ้านนาป่าหนาดแบ่งการ ปกครองเป็นสองหมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 4 (คุ้มใต้) และหมู่ที่ 12(คุ้มเหนือ) อาณาเขตบ้านนาป่าหนาดมีเขตติดต่อกับหมู่บ้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    ทิศเหนือ จรดบ้านวังอาบช้าง
    ทิศใต้ จรดบ้านหินตั้ง
    ทิศตะวันออก จรดบ้านตาดซ้อ
    ทิศตะวันตก จรดบ้านนาเบน

    จากคำบอกเล่าของพ่อแม่ และผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านนาป่าหนาดทราบว่า เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2460 ชาวบ้านได้พากันอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือน อยู่ที่นี่ ซึ่งเมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นป่าไม้ ที่อุดมสมบูรณ์ตอนแรกเรียกว่า บ้านนาป่าติ้ว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “ บ้านนาป่าหนาด ” เพราะบริเวณนี้ มีต้นหนาดมากมาย

    นอกจากนี้ยังมีป่าไผ่ ไม้ประดู่ ไม้เปือย ไม้แดง ไม้เต็งรัง มากมาย มีสัตว์ป่าชุกชุม มีแหล่งน้ำธรรมชาติ 2 แห่ง คือ ลำน้ำฮวยและลำน้ำ ห้วยป่าติ้ว หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ห้วยน้อย หล่อเลี้ยงพืชพันทางการเกษตร มีสัตว์น้ำมากมายอันเป็นอาหารของชาวบ้านได้อย่างดี ชาวบ้านในแถบนี้ จะปลูกข้าวไร่กัน จึงไม่มีนาข้าว เมื่อชาวไทยดำ ได้เข้ามาอยู่บริเวณนี้ ก็พากันทำนาปลูกข้าวซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมชาวบ้านในแถบนี้เห็นเข้า จึงได้ พากัน ทำนาปลูกข้าวเหมือนชาวบ้านนาป่าหนาดจนถึงปัจจุบัน

    หมู่บ้านวัฒนธรรมบ้านไทดำบ้านนาป่าหนาด ตั้งอยู่ที่บ้านนาป่าหนาดคุ้มใต้ ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ตั้งอยู่บนที่ดิน ของอาจารย์จารุณี ซึ่งเสียค่าเช่าเป็นรายปีแต่ตั้งแต่ก่อตั้งมาท่านอาจารย์ยังไม่เก็บค่าเช่า เลยแม้แต่บาทเดียวก็สนับสนุนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทดำ ของชุมชน

    หมู่บ้านวัฒนธรรมมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มชาวบ้านมีสมาชิกเป็นชาวไทดำ ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 50 คนและมีการจัดตั้งกันเป็นกองทุนเก็บเงิน คนละ 100 บาทต่อปี เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและสร้างความสามัคคีแก่ชาวไทดำที่เหลืออยู่

    ในส่วนของการจัดแสดงนั้น ภายในที่ตั้งของหมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำนั้นเป็นการจัดแสดงสถานการณ์การใช้ ชีวิตประจำวันของชาวไทยดำ การทอผ้า การตีมีด การใช้ชีวิตของคนเฒ่าคนแก่ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของชาวไทดำและยังมีการสนับ สนุนให้คนแก่ของหมู่บ้านได้มีกิจกรรม และมีการประชุมกันภายในกลุ่มเป็นประจำกัน 2 เดือนต่อครั้งและประชุมใหญ่ปีละครั้ง

    ในการจัดตั้งได้อาศัยงบประมาณที่อาจารย์เพชรตะบองได้จัดหามาจากหลายที่และ ชาวบ้านช่วยเหลือกันจนก่อตั้งได้และมีทางองค์การ บริหารส่วนตำบลเขาแก้วสนับสนุนมาบ้างเป็นครั้งคราวและปัจจุบันทางองค์การ บริหารส่วนตำบลเขาแก้วก็จัดสร้างแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมไทดำขึ้น ที่คุ้มเหนือเช่นกัน

    หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำบ้านนาป่าหนาดเป็นหมู่บ้านที่มีลักษณะเป็นหมู่บ้าน สาธิต ความเป็นไทดำทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม หรือการ ดำเนินชีวิตต่าง ๆ ของชาวไทดำ ให้ผู้ที่เข้าเยี่ยมชมได้เห็นภาพจริง

    องค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาวัฒนธรรมของชาวไทดำนั้น ทำให้เกิดความภูมิใจและสำนึกรักในความเป็นชาวไทดำ และอนุรักษ์ไว้ เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักชาวไทดำได้ชัดเจน ขึ้นว่าเป็นมาอย่างไร

  • ศูนย์ศิลป์สิรินธร โรงเรียนศรีสงครามวิทยาอำเภอวังสะพุง


    ศูนย์ศิลป์สิรินทร จ.เลย เป็น สถานที่แสดงภาพเขียนของนักเรียนที่มีความสวยงามโดยสร้างชื่อเสียงทั้งใน ประเทศและระดับโลกมาแล้ว ทั้งยังเป็นแหล่งความรู้ทางศิลปะวัฒนธรรมประกอบด้วยหอนิทรรศการถวรและหมุน เวียน

     
     
    ศูนย์ศิลป์สิรินทร ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนศรีสงครามวิทยา ถนน เลย- หนองบัวลำภู อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นแหล่งรวบรวมภาพเขียนและชิ้นงานศิลปะหลากหลาย จัดไว้ในหอนิทรรศการถาวรและหมุนเวียน ชื่อของ “ศูนย์ศิลป์สิรินธร” ได้รับพระราชทานชื่อจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เริ่มก่อสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2536 เกิดจากความคิดริเริ่มของ “ครูสังคม ทองมี” เป็นครูสอนศิลปะมีผลงานสร้างชื่อเสียงระดับประเทศ เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์และถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับศิลปะ ให้เกิดการศึกษาเรียนรู้เพื่อการนำไปปฏิบัติให้เกิดความชำนาญยิ่งขึ้น โดยรอบรายล้อมด้วยสวนป่าซึ่งมีสภาพแวดล้อมดีเยี่ยม ลักษณะของอาคารแห่งนี้สร้างด้วยสถาปัตยกรรมเรียบง่าย การออกแบบรูปทรงให้สอดคล้องกับธรรมชาติมากที่สุด เมื่อมองแล้วคล้ายกับงานประติมากรรมสร้างสรรค์แก่สวนป่ามากขึ้น แต่ละอาคารมีการจัดแบ่งตามลักษณะของการใช้สอย จัดแสดงภาพเขียนของเด็กนักเรียนและเยาวชนทั่วไปนอกจากนี้ยังมีร้านจำหน่ายผลงานศิลปะและของที่ระลึกด้วย
  • สวนรุกขชาติ 100 ปี (กรมป่าไม้) อำเภอวังสะพุง      

    เมื่อวันเสาร์ที่แล้ว ผมเดินทางไปจังหวัดเลย  แล้วแวะไปเที่ยวในตัวอำเภอวังสะพุงแล้วหลงทางภายในตัวอำเภอวังสะพุงขณะหาทางไปดู “ภูหลวง”(อำเภอภูหลวง) เลยใช้ GPS จากโทรศัพท์นำทางออกจากภายในตัวอำเภอได้สำเร็จ พอไปเห็นภูหลวง แล้วรีบกลับเข้าจังหวัดเลยเพื่อไปรับผู้บังคับบัญขาน้อย 2 คน พอดีผ่าน…สวนรุกขชาติ 100 ปีกรมป่าไม้(ปากปวน) เลยแวะพักผ่อนก่อนถึงเวลานัดหมาย…เอารูปมาฝากครับ


    สวนรุกขชาติ 100 ปี กรมป่าไม้ (ซับสมบูรณ์) จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ100ปี ของการสถาปนากรมป่าไม้ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ และให้อยู่ในความควบคุมดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตนครสวรรค์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ เดือนธันวาคม 2539 เป็นต้นมาสวนรุกขชาติ จัดตั้งขึ้นเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่า ในท้องถิ่นและในพื้นที่ใกล้เคียง นำมาปลูกรวบรวมไว้เพื่อการศึกษาวิจัยและเป็นแหล่งเก็บเมล็ดไม้ ปัจจุบันสมควรให้รวบรวมไว้ทั้งพืช ใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ พืชกินได้ พืชสมุนไพร พืชมีพิษ รวมทั้งพืชให้ดอกสวยงามต่าง ๆ ในท้องถิ่นเพื่อให้ผู้สนใจ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้ศึกษาหาความรู้และใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

    จุดประสงค์ของการจัดตั้งสวนรุกขชาติ 100 ปี กรมป่าไม้ (ซับสมบูรณ์) เพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่าในท้องถิ่น และฟื้นฟูต้นน้ำลำธารของน้ำตกซับสมบูรณ์ ก่อประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ท่านจึงเป็นผู้หนึ่งที่สามารถช่วยเหลือทางราชการ โดยการปฏิบัติดังนี้ 1) ไม่ทำลายต้นไม้ เก็บหาพรรณไม้ และของป่าทุกชนิด 2) ไม่ล่าสัตว์ป่า และไม่จุดไฟเผาป่า 3) รักษาความสะอาดบริเวณน้ำตก โดยทิ้งขยะลงในที่ที่จัดเตรียมไว้ 4) ไม่ส่งเสียงดัง จนเป็นที่รบกวนนักท่องเที่ยวและสัตว์ป่า 5) ไม่ขีดเขียนหรือทำลายป้ายเครื่องหมายต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่


    สวนรุกขชาติ 100 ปี กรมป่าไม้ (ซับสมบูรณ์) มีเนื้อที่ประมาณ 1,465 ไร่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณน้ำตกซับสมบูรณ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาคอก ป่าเขาโลมนาง และป่าเขาสอยดาว ตั้งอยู่ท้องที่หมู่ 6 บ้านซับสมบูรณ์ ตำบลวังข่อย อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ มีค่าพิกัดภูมิศาสตร์ พิกัด X = 691315 พิกัด Y = 1719169


    พื้นที่สวนรุกขชาติฯ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาโลมนาง มีลักษณะเป็นภูเขาสูงชัน สลับซับซ้อน พื้นที่มีความลาดชันเกิน 35 เปอร์เซ็นต์ และมีความลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มียอดเขาสูงสุดในเขตสวนรุกขชาติฯ สูง 495 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีน้ำตก 1 แห่ง เรียกว่า น้ำตกซับสมบูรณ์ ซึ่งมีพื้นที่ต้นน้ำลำธารเป็นที่ราบหุบเขาเรียกว่า ขุนน้ำตก และยังมีต้นน้ำลำธารมาจากเทือกเขายอดสูงสุด ซึ่งอยู่นอกเขตสวนรุกขชาติฯ คือ เทือกเขาสอยดาว สูง 558 เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณขุนน้ำตก ลักษณะเป็นพื้นที่ราบหรือลาดชันเล็กน้อยมีลักษณะเป็นทุ่งโล่ง กว้างสุดสายตา ในอดีตบริเวณนี้อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้ที่มีค่าจำนวนมาก เช่น ไม้มะค่าโมง แต่ได้ถูกมนุษย์ทำลายไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัจจุบันมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่หลงเหลือน้อยมาก พื้นที่อยู่ในระยะของการฟื้นตัวตามธรรมชาติ และบริเวณนี้เป็นพื้นที่ปลูกรวบรวมพันธุ์ไม้ป่าชนิดต่าง ๆ ของสวนรุกขชาติ


    สภาพอากาศค่อนข้างร้อน ฝนตกชุกในช่วงเดือนกันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 28.5 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,239.6 มิลลิเมตร


    ทรัพยากรป่าไม้ในเขตพื้นที่สวนรุกขชาติฯ ส่วนใหญ่อยู่ในระยะของการฟื้นตัวตามธรรมชาติ สามารถพบเห็นลูกไม้ป่ากำลังเกิดขึ้นมาทดแทนไม้ยืนต้นเดิม โดยพันธุ์ไม้ที่พบขึ้นหนาแน่นมาก ได้แก่ บริเวณหุบเขาร่องน้ำตก ซึ่งมีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ และพบชนิดพันธุ์ไม้ป่าดงดิบแล้งและป่าเต็งรัง ขึ้นอยู่บริเวณตอนใต้ของพื้นที่สวนรุกขชาติเขตติดต่อเทือกเขาสอยดาว นอกจากนี้ตามไหล่เขามักพบพันธุ์ไม้ป่าเบญจพรรณขึ้นปะปนไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ พันธุ์ไม้ที่น่าสนใจที่พบในพื้นที่ ได้แก่สัตบรรณ มะค่าโมง ประดู่ นนทรี แดง สะแกแสง อ้อยช้าง ยมหิน มะกอก มะกัก มะขามป้อม แคป่า แคหางค่าง ตะคร้ำ มะเลื่อม คูณ กัลปพฤกษ์ แสมสาร ชงโค แจง มะกล่ำต้น มะเกลือ ตะขบป่า กระเปา ตะแบก ฉนวน กระพี้จั่น สมพง โมกมัน สวอง ยางโอน ปีบ เพกา งิ้วป่า หว้า มะหวด มะหาด เกว้า ยอป่า อุโลก กะบก เต็ง รัง พะยอม เหียง ตะเคียนหิน พอง ไทร ติ้ว แต้ว ผักหวาน ไผ่รวก ไผ่นวล ปรงป่า กล้วยไม้ป่า เฟิน ฯลฯ เป็นต้น

    น้ำตกซับสมบูรณ์

    เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีความสวยงามแฝงอยู่ท่ามกลางแมกไม้ เป็นน้ำตกที่ไหลลงมาตามร่องเขาโลมนาง โดยมีต้นน้ำลำธารมาจากขุนน้ำตก และส่วนหนึ่งมาจากต้นน้ำเทือกเขาสอยดาว ลักษณะน้ำตกมีจำนวน 7 ชั้น เป็นขนาดใหญ่ 4 ชั้น และเป็นแก่งเล็ก ๆ 3 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามแตกต่างกันไป ในช่วงฤดูฝนของทุกปี จะมีนักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมน้ำตกจำนวนมาก ซึ่งจะมีช่วงระยะเวลาการท่องเที่ยวในแต่ละปีประมาณ 3-4 เดือน ปัจจุบันได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติตามเส้นทางน้ำตก เพื่อให้ได้รับความรู้ทางพฤกษศาสตร์ป่าไม้ควบคู่กันไป

    จุดชมวิว
    ได้แก่ จุดชมวิวเนินมะกอก จุดชมวิวผาสวรรค์ จุดชมวิวเนินพะยอม และจุดชมวิวเขาสอยดาว ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพได้กว้างไกล

    การเดินป่า
    เป็นกิจกรรมเดินทางไกล เพื่อชมธรรมชาติและพรรณไม้ เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการความท้าทาย โดยมีจุดพักค้างแรมที่เนินพะยอม และยอดเขาสอยดาว

                     

  • ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ห้วยกระทิง อำเภอเมืองเลย
  • พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย
  • วัดพระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย
  • วัดเนรมิตรวิปัสสนา อำเภอด่านซ้าย
  • ภูลมโล อำเภอด่านซ้าย
  • พระธาตุสัจจะ อำเภอท่าลี่

ใส่ความเห็น